วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เส้นพื้นฐานในการนวดราชสำนัก









เส้นพื้นฐานการนวดพื้นฐานแบบราชสำนัก

http://nuadthai1.files.wordpress.com/2012/10/royalm.jpg?w=540

มีทั้งหมด  ๑๐  เส้น v บริเวณบ่า
๑.   เส้นพื้นฐานบ่า
๒.   เส้นพื้นฐานไหล่
๓.  เส้นพื้นฐานโค้งคอ
๔.  เส้นพื้นฐานแขนด้านนอก
๕.  เส้นพื้นฐานแขนด้านใน
๖.   เส้นพื้นฐานหลัง
๗.   เส้นพื้นฐานขา
๘.   เส้นพื้นฐานขาด้านนอก
๙.   เส้นพื้นฐานขาด้านใน
๑๐.  เส้นพื้นฐานท้อง

สัญญาณ 
คือ  จุดและตำแหน่งในร่างกายที่สามารถบังคับจ่ายเลือดและความร้อน  หรือ  พลังประสาทตามพิกัดหัตถเวช  
(สูตรรวมในการรักษาแต่ละโรค  ซึ่งมีหลักเฉพาะในแต่ละโรค)
จุดสัญญาณ  มีทั้งหมด  ๕๐  จุด
๑.      เส้นพื้นฐานที่มีสัญญาณ  ๕  จุด
v    สัญญาณขาด้านนอก
v    สัญญาณขาด้านใน
v    สัญญาณแขนด้านนอก
v    สัญญาณแขนด้านใน
v    สัญญาณหลัง
v    สัญญาณท้อง
v    สัญญาณไหล่
v    สัญญาณศีรษะด้านหน้า
v    สัญญาณศีรษะด้านหลัง
๒.    เส้นพื้นฐานที่มีสัญญาณ  ๓  จุด
v สัญญาณเข่า
๓.     เส้นพื้นฐานที่มีสัญญาณ  ๑  จุด
v    สัญญาณข้อเท้า
v    สัญญาณจอมประสาท
การกดสัญญาณแต่ละจุดใช้เวลาในการกด  ๑  คาบใหญ่  (๓๐-๔๕  วินาที)


การนวดพื้นฐาน
การนวดในจุดต่าง ๆ  ของราชสำนัก  เป็นการนวดเพื่อนำเลือดมาเลี้ยงบริเวณที่จะทำการรักษา  เรียกว่า  “การนวดพื้นฐาน”  มี  ๕  ตำแหน่ง

๑.      การนวดพื้นฐานบ่า คือ  การนวดบริเวณบ่าทั้ง  ๒  ข้าง  เพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกร็งเกิดการอ่อนตัวและทำให้การไหลเวียนเลือดบริเวณบ่าดีขึ้น
๒.    การนวดพื้นฐานแขน คือ  การนวดบริเวณแขนด้านใน  จากต้นแขนไปจนถึงข้อมือ  เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปทั่วแขน
๓.     การนวดพื้นฐานหลัง คือ  การนวดในแนวข้างกระดูกสันหลังทั้ง  ๒  ข้าง  จากบั้นเอวถึงต้นคอและจากต้นคอลงมาถึงบั้นเอว  เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณกระดูกสันหลังดีขึ้น
๔.     การนวดพื้นฐานขา คือ  การนวดตามแนวกระดูกขาด้านข้าง  จากหน้าแข้งลงไปถึงเท้า  และจากเหนือเข่าขึ้นไปจนถึงต้นขา  และกลับมือนวดด้านล่างของขา  จากต้นขาถึงข้อเท้า
๕.     การนวดพื้นฐานท้อง คือ  การนำเลือดมาเลี้ยงบริเวณหน้าท้อง  ให้เส้นท้องหย่อน  คลายกล้ามเนื้อเพื่อกดนวดสัญญาณท้องแต่ละจุด
เทคนิคการนวด
๑.      ใช้นิ้วคู่  (| |)
๒.    ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้อนไหว้กัน  (X)
๓.     ใช้สันมือกดทับนิ้วหัวแม่มือ  (T)  โดยใช้มือที่วางตามหลักพื้นฐานเหมือนเดิม



(ต่อ การนวดพื้นฐานบ่า)









  

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลมปลายปัตฆาต

ปัตฆาต  หมายถึง  กล้ามเนื้อ
ปลาย  หมายถึง  ปลาย,  สุด  จุดสิ้นสุด
ดังนั้น  ลมปลายปัตฆาต  คือ  การเกิดภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด  
ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่เป็นแข็งเป็นก้อน,  ลำ,  ดาน  มีอาการปวด  บวม  
มักจะเป็นกับกล้ามเนื้อ,  เส้นเอ็น,  เยื่อหุ้มกระดูกหัวต่อกระดูก  
แต่ไม่เกิดกับกระดูก  หากเราพบว่า  ลมปลายปัตฆาต  มีความร้อนด้วย  
เราจะเรียกว่า   “ลำบองแทรกลมปลายปัตฆาต”

ลมปลายปัตฆาตเกิดขึ้น เมื่อมีความเครียดของกล้ามเนื้อ  
ทำให้ไปบีบหลอดเลือดแดงบริเวณนั้นให้เล็กลงปริมาณเลือดมาได้น้อย  
ทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือด  เกิดการปวดเป็นก้อนเล็ก  ๆ  เหมือนกลิ้งได้  เช่น  ตามบ่า  หลัง 
 “ทางกายภาพ  อธิบายว่าร่างกายและกล้ามเนื้อเกิดภาวะเครียดและหลั่งสารทุกข์ออกมา
ซึ่งก็คือแคลเซียมอิออน ออกมาเกาะตามกล้ามเนื้อและรวมตัวกันเป็นก้อนโต”
การนวดช่วยสลายก้อนเล่านี้ได้  เพราะเลือดไหลเวียนและดูดซับกลับไปได้ดี
อาหาร  ก็เป็นสาเหตุให้มีการตกตะกอนของแคลเซียมอิออนได้  เช่น  หน่อไม้  มีสารผลึกลูกเข็ม,  เหล้า,  เบียร์  เกิดภาวะเลือดเป็นกรดกัดข้อต่อ,  เครื่องในสัตว์มีกรดยูริกสูงตกเป็นผลึกยูเรีย,
ยาแก้ปวดทำให้ระงับอาการปวด,  ข้าวเหนียว  ทำให้เลือดตกตะกอน,
บางคนแพ้ผักโตเร็ว  เช่น  ถั่วงอก,  ตำลึง,  กระถิน  หรือบางคนแพ้เนื้อสัตว์แช่แข็ง
ลมปลายปัตฆาตนั้นเกิดกับกล้ามเนื้อลายเท่านั้นพบได้ทั้งตัว
 
ลมปลายปัตฆาตที่พบบ่อยได้แก่
1)    ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  1,3  หลัง
2)    ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  4,5  หลัง
3)    ลมปลายปัตฆาตบ่าลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  1  หลัง 
สาเหตุ เกิดจากกล้ามเนื้อเครียดแข็ง  เกร็งเป็นก้อน  ลำ  กดทับเส้นประสาท
เกิดได้จากความเครียด,  อุบัติเหตุ  ความเสื่อมของร่างกาย,  การใช้งานของกล้ามเนื้อเกินกำลัง
อาการ  มีการปวด,  เมื่อยหลังช่วงล่าง,  ล้า,  ชาที่ก้นย้อย,  ต้นขา,  หัวเข่าไม่มีกำลัง  (เข่าทรุด)

วิธีตรวจ  1)  วัดส้นเท้า  ข้างที่เป็นจะสั้น
2)    งอพับขาเป็นเลข  4  กดลงข้างที่เป็นจะต้านมือ
3)    ตรวจบริเวณหลังช่วงเอว  (สัญญาณ  1,2,3)  กดดูจุดเจ็บ  (ส.1  จะเจ็บ)  ดูความแข็งแกร็ง  (ส.1),  ดูแนวกระดูกว่าตรงหรือคดผิดรูปหรือไม่
*  สัญญาณ  1  หลัง  ตรงกับกระดูกเอวข้อที่  5  (L5)  (ในแผนปัจจุบันเส้นประสาทจาก  L5  จะไปจึงน่องและหลังเท้า)

สูตรการรักษา  ใช้สูตรกลาง
1)    นวดพื้นฐานขาข้างที่เป็น  เปิดประตูลม
2)    นวดสัญญาณหลัง  1,2,3  เน้น  1  เป็นพิเศษ  คือกดนิ่งนาน  คาบใหญ่  30  วินาที
3)    นวดขาด้านนอกสัญญาณ  1,2,3,4,5  เน้น  3  เป็นพิเศษ
4)    นวดขาด้านในสัญญาณ  1,2,3,4,5  เน้น  2  เป็นพิเศษ
5)    นวดช้อนกระดูกสันหลังข้างที่เป็น

คำแนะนำ  1)  ประคบความร้อนชื้นที่หลัง,  สะโพก,  ขาด้านใน
2)    ท่าบริหาร  4  ท่ามี
-    ยืนเขย่งปลายเท้า
-    นั่งยอง ๆ  90  องศา
-    นอนยกศีรษะเกร็งกล้ามเนื้อ
3)    หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเกิดโรค
4)    พักผ่อน  (นอน)  ให้เต็มที่
5)    นวดอาทิตย์ละ  2  ครั้ง
ขั้นตอนการนวดรักษา  ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  1  หลัง
1.  วัดชีพจร  (ข้อมือ)
2.วัดส้นเท้า – ข้างที่เป็นจะสั้น
3.งอพับขาเป็นเลข  4  กดเข่า  ข้างที่เป็นจะต้านมือ  (ทำทั้ง  2  ข้างเพื่อเปรียบเทียบกัน)
4.ตรวจสันหลังดูสภาพทั่วไป  ตรง / คด,  หาจุดเจ็บ,  แข็ง-เกร็ง,  ดูอุณหภูมิร้อน/เย็น
 
ขั้นตอนการรักษา
นอนหงาย 1.  นวดพื้นฐานขาข้างที่เป็น,  คลายหลังเท้า,  เปิดประตูลม
นอนตะแคง  2.  นวดสัญญาณหลัง  1,2,3  เน้น  1  3-5  รอบ  รอบสุดท้ายนวด  ส.3,2,1
3.  นวดสัญญาณขาด้านนอกขาที่เป็น  ส.1,2,3  คลาย,  ส.4,  ส.5 1 รอบ  เน้นสัญญาณ  3
นวดสัญญาณขาด้านนอก  1,2,3  คลายกล้ามเนื้อต้นขา  3  รอบ
นวดสัญญาณขาด้านนอก  1,2,3  คลายกล้ามเนื้อต้นขา  4,5  1 รอบ  เน้นสัญญาณ  3
พลิกตะแคง    4.  นวดขาด้านใน  สัญญาณ  1,2  ใช้ส้นมือ  1,2,3  นิ้วคู่,  ส.4,  พื้นฐานขาท่อนล่าง,  สัญญาณ  5  นวด  1-2  รอบ
5.  นวดสัญญาณหลัง  (ข้างดี)  1,2,3    2  รอบ  รอบสุดท้าย  ส.3,2,1
6.  นวดช้อนกระดูกสันหลังข้างที่เป็น  (ข้อนิ้วเบียดกระดูก)  หน่วง,เน้น,นิ่ง  ตรง ๆ  ช้อนขึ้นเล็กน้อย  กดสัญญาณ  1,2,3    3  รอบ  นวด  3,2,1    1  รอบ  (นิ้วไหนก็ได้)
7.  นวดสัญญาณขาด้านใน  1,2  ใช้ส้นมือ  เน้น  2,  1,2,3  ใช้นิ้วคู่  เน้น  2,  ส.4,  พื้นฐานขาท่อนล่าง,  สัญญาณ  5  1  รอบ
นวดสัญญาณขาด้านใน  1,2  ใช้ส้นมือ  เน้น  2,  1,2  ใช้นิ้วคู่  เน้น  2    5  รอบ
นวดสัญญาณขาด้านใน  1,2  ใช้ส้นมือ  เน้น  2  1,2,3  ใช้นิ้วคู่  เน้น  2,4,  พื้นฐานขาท่อนล่าง,  สัญญาณ  5    1  รอบ
 
ตรวจหลังการรักษา
1)    วัดส้นเท้า  (จะยาวขึ้น)
2)    พับขางอเข่าเป็นเลข  4  (ไม่ต้านมือ)
3)    ตรวจบริเวณหลัง  ตรวจจุดเจ็บ,เกร็ง
คำแนะนำ
1)    ท่ากายบริหาร  4  ท่า
2)    งดอาหารแสลง
ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  3  หลัง
มีอาการปวดบั้นเอว  เหมือนลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  1  หลัง  แต่มีอาการร้าว,  ชา  ลงปลีน่อง,  ฝ่าเท้า,  นิ้วเท้า  โดยเฉพาะนิ้วโป้งจะไม่มีกำลัง
ผลที่ได้จาการตรวจที่แตกต่างจากสัญญาญ  1  หลัง  คือ
1)    วัดส้นเท้า  ข้างที่เป็นจะยาว
2)    งอขาพับเข่าเป็นเลข  4  กดเข่าจะไม่ต้านมือ
3)    คลำหาจุดเจ็บ  แข็งแกร็ง  บริเวณหลังจะพบว่าอยู่บริเวณสัญญาณ  3  หลัง
ขั้น ตอนการรักษา  เหมือนกับการรักษาลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  1  หลังทุกอย่าง  มีข้อแตกต่างกันที่นวดจุดสัญญาณ  5  ขาด้านนอกแล้ว  นวดต่อไล่เส้นไปถึงตาตุ่ม  เพื่อขับลมออกนิ้วเท้าและเปลี่ยนจุดเน้นสัญญาณ  นิ่งนาน  เป็นที่หลัง  เน้นสัญญาณ  3,  ขาด้านนอกเน้นสัญญาณ  2,  ขาด้านในสัญญาณ  1  (3,2,1)

ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  4,5  หลัง
กลุ่มที่มักมีปัญหาสัญญาณ  4,5  หลังได้แก่  อาชีพที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน  เช่น  เสมียนพนักงานบัญชี,  สถาปนิก,  ช่างเขียนแบบ,  คอมพิวเตอร์  ฯลฯ  ช่วงอายุที่พบมากคือวัยทำงานขึ้นไป
 
สาเหตุของการเกิดโรค
1)สาเหตุทั่วไป  ได้แก่  ความเครียด,  การทรงตัว,  
ท่าทางการทำงาน,  อุปนิสัยการนอนหมอนสูงเป็นประจำ
2)อุบัติเหตุ-มีการกระทบกระแทกบริเวณต้นคอ
3)ความเสื่อมของร่างกาย-กระดูกต้นคอผิดรูป,  การผิดปกติของหมอนรองกระดูกต้นคอ,  
กระดูกงอกบริเวณกระดูกต้นคอ  C6  C7  และ  C7  T1  เนื่องจากมีหินปูนมาจับเกาะ
อาการของโรค
สัญญาณ  5  หลัง    อาการทั่วไป    -  ปวดกล้ามเนื้อบ่าในบางราย  ปวดร้าวบริเวณขอบด้านในของสะบักข้างเดียวกัน  มึนงงศีรษะ,  ปวดกระบอกตา,  ตามองเห็นไม่ชัด,  มีความรู้สึกเจ็บตามหนังศีรษะ  ขี้ลืมง่าย
อาการเฉพาะ    -  ปวดหลังและด้านข้างของคอ  ร้าวขึ้นหู  ขมับ  กระบอกตา
-  ปวดร้าวไปที่บริเวณกลางศีรษะหรือปวดร้าวจากท้ายทอยไปทั่วศีรษะออกตา
สัญญาณ  4  หลัง อาการทั่วไป-  ชา  ปวด  เสียด  บริเวณบ่า  ท้ายสะบัก  ต้นแขน  ชาปลายนิ้วนางและนิ้วก้อย
อาการเฉพาะ -  คอแข็ง,  ปวดบริเวณต้นคอร้าวลงสะบักด้านใน,  ด้านหลังของหัวไหล่
-  ปวดร้าวลงไปถึงแขนท่อนล่างด้านนอกไปจนถึงบริเวณหัวแม่มือและนิ้วชี้
-  อาการชาทางด้านในของแขนจนถึงนิ้วก้อย
-  บางรายมีอาการบวมบริเวณนิ้วมือและหลังมือ
การตรวจ  1)  ก้มหน้าคางชิดอก
2)  เงยหน้ามองเพดาน  (ถ้าอายุไม่เกิน  50  ปี  ต้องเงยหน้าขึ้นได้สบาย)  ดูโหนกแก้มข้างที่เป็นว่าสูงหรือต่ำ
-    ถ้าโหนกแก้มข้างที่เป็นสูง  แสดงว่ามีหินปูนมาเกาะ  (เวลานวดให้เน้นสัญญาณ  4,5  บน)
-    ถ้าโหนกแก้มข้างที่เป็นต่ำแสดงว่ามีการทรุดตัวของหมอนรองกระดูก  (เวลานวดให้เน้นสัญญาณ  4,5  ล่าง)
3)    เอียงหูชิดไหล่  -  ข้างที่เป็นจะไม่ได้องศา  บางรายอาจมีอาการเจ็บปวด  ร้าว  ร่วมด้วย
4)    หันศีรษะไปทางซ้าย  +  ขวา  -  ข้างที่เป็นจะไม่ได้องศาหรือหันได้น้อยและมีอาการปวดร้าวกล้ามเนื้อบ่า,  คอ,  สะบัก  หรือชาออกนิ้วโป้งและนิ้วชี้
5)    คลำดูกล้ามเนื้อบ่าทั้ง  2  ข้าง
6)    ดูความผิดปกติของกระดูกต้นคอ

สูตรการนวด
1)  สูตรเล็ก -  1.  นวดพื้นฐานบ่า,  บังคับสัญญาณ  4,5  หลัง
-  2.  บังคับสัญญาณ  4  หัวไหล่
2)  สูตรกลาง    -  1.  นวดพื้นฐานบ่าบังคับสัญญาณ  4,5  หลัง,  บังคับสัญญาณ  4  หัวไหล่
-  2.  นวดพื้นฐานหลัง
-  3.  พื้นฐานแขนด้านในและด้านนอก  เพื่อดึงพิษอักเสบออกแขน
คำแนะนำ  1)  ประคบความร้อนชื้น
2)    งดอาหารแสลง  -  ข้าวเหนียว,  หน่อไม้,  ยาแก้ปวด,  เครื่องในสัตว์,  เหล้า,  เบียร์
3)    กายบริหาร  -  ท่าที่  1  (ก้ม/เงย)  -  มือประสานศีรษะก้มหน้าเก็บข้อศอกกดลง
-  แหงนหน้ามือประคองช้อนคางดันขึ้น
(ก้ม/เงย  สลับกัน  3  ชุด)
-  ท่าที่  2  หันหน้า  คางชิดหัวไหล่  -  หันหน้าด้านซ้ายใช้มือขวาดันหน้าให้ชิดหัวไหล่สลับกัน  3  ชุด
-  ท่าที่  3  หมุนศีรษะเป็นวงกลมสลับกันซ้าย  /  ขวา  3  ชุด
-  ท่าที่  4  ดึงมือโหนรถเมล์  3  จังหวะ  ทำสลับกัน  3  ชุด
-  ท่าที่  5  แกว่งแขน  โดยชูแขนขึ้นแนบหูทั้งสองข้าง  ปล่อยทิ้งแขนให้ผ่านลำตัวไปทางด้านหลัง  30  ครั้ง
4)  หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเกิดโรค
5)  พักผ่อนให้เพียงพอ
6)  ห้ามบิด  ดัด  สลัดแขนและคอ  นวดอาทิตย์ละ  2  ครั้ง
ขั้นตอนการนวดรักษา  *  ตรวจจับชีพจรข้อมือ,  ตรวจตามอาการของโรค
*  ตัวอย่างเป็นลมปลายปัตฆาตสัญญาณ  4  สัญญาณ  5  หลัง*
หมายเหตุ  ถ้าคนไข้เอียงหูชิดไหล่ไม่ได้ต้องนวดอย่างระมัดระวังเพราะอาจมีกระดูกร้าว,  กระดูกเปราะ  หรือมีหินปูนเกาะมาก
ท่านั่ง
1)    นวดพื้นฐานบ่าข้างที่เป็น  (ลมปลายปัตฆาตบ่าชอบความแหลมคมให้ใช้นิ้วกากบาท)  การนวด  พื้นฐานบ่าให้นวดแนวสันบ่าล่าง,  นวด  4  จังหวะ  คือ  จังหวะที่  1  ชิดปุ่มกระดูกหัวไหล่,  จังหวะ  2  กึ่งกลางบ่า,  จังหวะที่  3  ฐานคอ,  จังหวะที่  4  ชิดกระดูกโค้งคอ  (สัญญาณ  5)  นวด  50,  70,  90,  90,  90,  90  ปอนด์  ข้างที่เป็น
2)    นวดบังคับสัญญาณ  5  บน  (กดเบียดเงี่ยงกระดูกต้นคอ)  5  ล่าง,  4  บน,  4  ล่าง  2  รอบ  นวดสัญญาณ  4  หักไหล่  1  ครั้ง  ข้างที่เป็น
3)    นวดพื้นฐานบ่าข้างไม่เป็น  50,  70,  90,  90,  90,  90  ปอนด์
4)    นวดบังคับสัญญาณ  5  บน,  5  ล่าง,  4  บน,  4  ล่าง  2  รอบ  นวดสัญญาณ  4  หัวไหล่  1  ครั้ง  ข้างที่ไม่เป็น
5)    นวดพื้นฐานบ่าข้างที่เป็น  90, 90,  90,  90,  90  ปอนด์
6)    บังคับสัญญาณหลัง  5  บน,  5  ล่าง,  4  บน,  4  ล่าง  2  รอบ  นวดสัญญาณ  4  หัวไหล่  1  ครั้ง  ข้างที่เป็น
7)    นวดเหมือน  ข้อ  5,  6    1-2  รอบแล้วแต่อาการ
นอนตะแคง  8)  นวดพื้นฐานหลังข้างที่เป็น  50,  70
นอนหงาย  9)  นวดพื้นฐานแขนด้านใน  2  รอบ
10)  นวดพื้นฐานแขนด้านนอก  2  รอบ


ที่มา naudthai.wordpress

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิธีขจัด พลังงานด้านลบ

พลังงานด้านลบที่อาจเกิดขี้น หลังการบำบัดให้ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเหตุที่อาจเกิดจากการถ่ายเทพลัง(ด้านดีออกไปรักษา ด้านลบอาจไหลเข้ามาแทน หรือ เหตุนั้นอาจเกิดจาก เจ้ากรรมนายเวรของเขาไม่พอใจ หรือ อ่อนประสพการ์ณ หรือ อะไรก็ตามที่สุดจะคาดเดา ส่งผลให้ผู้บำบัดเกิดอาการ ปวดเมื่อย ชาตามร่างกาย คลื่นไส้ เวียนศรีษะ เป็นต้น วิธีแก้ไขที่พอจะค้นหามาได้ตอนนี้  
ได้มาจากสมาชิกเว็บพลังจิต ที่ชื่อ RuamJit ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย 




ได้ผลหรือไม่ ลองดูก็ไม่ได้เสียหายอะไร แผ่เมตตาเป็นอาจิณอยู่แล้ว











"ขับพลังออก ซึ่งอาจใช้ในกรณีที่มีพลังมากเกินไป หรือใช้กำจัดพลังที่ปนเปื้อน วิธีง่ายๆก็คือ หาต้นไม้ใหญ่ๆสักต้น เพื่อถ่ายออก และทำให้เกิดการไหลเวียนของพลังงาน (รูป)
ยืนสบายๆ เท้าทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้นดิน ขณะที่ฝ่ามือทั้งสองแนบสนิทกับต้นไม้อย่างสบายๆ แล้วจินตนาการให้พลังไหลจากมือไปยังต้นไม้ ลงไปยังรากแก้วที่อยู่ลึกลงไปในพื้นดิน ขณะที่เท้าดูดซับพลังงานจากพื้นดินขึ้นมาเป็นวงจร ทำซ้ำๆกันอย่างนั้น ตามลักษณะของลมหายใจ กล่าวคือเมื่อหายใจเข้า พลังก็ไหลเข้ามาในตัวผ่านเท้า หายใจออกพลังไหลออกไปยังต้นไม้ โดยพลังไหลผ่านทางฝ่ามือ ควรทำอย่างน้อย 10 รอบลมหายใจ
แค่เอามือแตะต้นไม้ แล้วนึกเอาน่ะหรือ ฟังดูง่ายๆ ?
ทีแรกตอนที่อาจารย์ได้สอนวิธีนี้แก่ผม ผมก็ไม่อยากเชื่อนัก พอดีช่วงนั้นผมมีปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติ ( PVC ) เนื่องจากกินกาแฟมากไปหน่อย หลังจากลองปฏิบัติดูตามที่กล่าวนี้ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะหายไปอย่างปลิดทิ้ง ภายในเวลาเพียงแค่ 2 นาที เรียกว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากทีเดียว

การแผ่เมตตา เผื่อแผ่แก่สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ เจ้ากรรมนายเวร ฯลฯที่อยู่รอบๆตัว อาจใช้บทสวด “สัพเพ สัตตา …” พร้อมทั้งบทแปล “สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ ……” ก็ได้
วิธีการนี้ สามารถใช้แก้เรื่องพลังงานด้านลบลงไปได้
เรื่องของผลข้างเคียงที่เกิดจากการฝึกชี่กงนั้น โชคดีที่ไม่ได้เจอกันบ่อยๆนัก ที่เจอก็มีอาการไม่มากและหายได้เอง หรือใช้วิธีการต่างๆแก้ไขกันได้ แต่หากลองแล้วอาการต่างๆก็ยังไม่ดีขึ้นเสียที ก็อาจต้องให้อาจารย์ชี่กงช่วยจี้สกัดจุด หรือขับพิษออกไปเสียบ้าง ก็น่าจะเป็นทางออกไม้ตายสุดท้ายครับ"





_______________________________________________________________________________

เหนือสิ่งอื่นใด ก่อนการบำบัดทุกครั้ง ต้องตั้งจิตรำลึกถึงครูบาอาจารย์ ที่เราเคารพบูชาเสมอ ด้วยการสวดบูชา และว่าคาถาปัดเป่า หลังการบำบัดก็ต้องรีบล้างมือ ล้างตัวให้สะอาด พร้อมทั้งว่าคาถาไปด้วย ทุกครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมาธิกับการนวด

สมาธิกับการนวดไทย
คุณค่าของสมาธิ
มนุษย์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นร่างกาย และจิตใจ ทั้ง 2 ส่วนนี้ไม่แยกจากกัน โดยเด็ดขาด แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน โดยจิตใจสามารถ ทำให้ส่วนรูปกายวิปริตแปรปรวน จนเกิดพยาธิสภาพขึ้นได้ เป็นต้นว่า ถ้าจิตใจว้าวุ่น เป็นกังวล ระบบของร่างกายที่มีจุดอ่อน ก็จะเริ่มผิดปกติ เช่น ความกังวล ทำให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวน ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยตามปกติ เสียด แสบในท้อง จนผลในที่สุด ก็เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออก หรือกระเพาะทะลุได้ บางคนจุดอ่อนอยู่ที่ระบบหายใจ ก็จะเกิดอาการหอบหืด หายใจไม่ออก เป็นต้น ถ้าไม่เข้าใจถึงสาเหตุว่า จิตใจก็คือตัวสำคัญ ของการแปรปรวน เราก็ตามรักษาอยู่แต่ปลายเหตุ และไม่สัมฤทธิผล การจะดูแลจิตใจให้สงบ เป็นปกติต่อเนื่องกัน โดยสม่ำเสมอ วิธีหนึ่งก็คือ การทำสมาธิ
สมาธิ หมายถึง การมีจิตกำหนดแน่วแน่ อยู่ในอารมณ์อันเดียว คือ มีจิตตั้งมั่นจดจ่อ ไม่ซัดส่ายฟุ้งซ่าน  
เมื่อใจรวมเป็นสมาธิ ความซัดส่ายปลิวไป กับสิ่งกระทบย่อมหมดไป 
ใจเป็นอิสระจากนิวรณ์ หรือสิ่งที่กั้นขวางจิตใจ ไม่ให้บรรลุความดี

เมื่อสุขภาพใจเป็นปกติ มีสมาธิหล่อเลี้ยง สุขภาพก็พลอยคลี่คลายตามไปด้วย 
ขณะใจสงบเป็นสมาธิ ร่างกายสามารถพักได้มากกว่าหลับ 
ประหยัดพลังงานในการกรองธาตุ เพื่อทรงความมีชีวิตได้ 
เพราะขณะหลับ ร่างกายต้องหายใจผ่านปอด 
แต่ขณะใจเป็นอัปปนาสมาธิ ร่างกายไม่หายใจ และอยู่ได้จากอากาศ ที่ถ่ายเทผ่านผิวหนัง
สภาวะเช่นนี้ เอื้อโอกาสต่อการซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยไข้ เกิดเป็นนิยามของ "ธรรมโอสถ" จากหนังสือที่เล่าถึงพระธุดงค์กรรมฐาน แถบอีสานที่เจ็บไข้ได้ป่วย ขณะธุดงค์อยู่ในป่า และขาดแคลนยา ท่านจะใช้วิธีทำสมาธิ ให้ใจลงรวม และเมื่อใจถอนจากสมาธิ โรคที่กำลังเป็นอยู่ก็หายไป เช่น เรื่องของหลวงปู่ฝั้น ที่เป็นไข้จับสั่น และเมื่อท่านหายจากโรคในครั้งนั้นแล้ว ท่านไม่เป็นไข้จับสั่นอีกเลย แม้หมู่พวกที่ไปด้วยกัน จะเป็นหนักหนาสาหัสแค่ไหนก็ตาม

ในสภาวะทั่วไป แม้นนักกีฬา ก็ทำให้อัตราของหัวใจช้าได้เพียง 50-60 ครั้ง/นาที แต่ขณะที่ใจ ลงรวมเป็นสมาธิ อัตราการเต้นของหัวใจอาจช้าได้ถึง 30 ครั้ง/นาที ทำให้การสึกหรอ ของร่างกายลดน้อยลง โอกาสที่อายุจะยืนยาว มากกว่าปกติก็เพิ่มขึ้น ความเสื่อมของรูปกาย หรือที่เราเรียกว่าความแก่ ก็จะปรากฎช้าลง ทำให้สุขภาพกายดีตามสุขภาพใจไปด้วย

 ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ
  • การพัก การสงบใจ เพื่อให้เกิดพลัง เมื่อใจสงบเป็นสมาธิ ใจก็จะเย็นจะสบายขึ้น ใจของเรา หากปล่อยให้ให้ไหลไปกับอารมณ์ ไปในอดีต ไปในอนาคต โดยไม่มีเป้าหมายนั้น เมื่อเวลามีปัญหาอะไรขึ้น เราต้องการคิดให้เป็นเหตุเป็นผล มันก็จะไม่มีแรงจะคิดแล้ว แต่ถ้าเราทำสมาธิให้ใจได้พักอย่างนี้ เมื่อมีปัญหา หรือมีงานที่ต้องการจะทำ พร้อมที่จะทำงานได้ ด้วยประสิทธิภาพที่สูง
  • มีสติสัมปชัญญะ เมื่อเรามีกำลังแล้ว เราฝึกสติ ฝึกสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา 2 สิ่งนี้จะคมขึ้น จะอยู่กับจิตของเรามากขึ้น เมื่อสติคมขึ้น อะไรจะเกิดขึ้น เราจะมองเข้าข้างในก่อน สำรวจดูว่า มีอะไรที่เราจะแก้ไขตัวเองได้ ที่เราจะทำให้ปัญหา ที่เป็นข้อขัดข้อง คลี่คลายออกไป หรือมีทางออก ที่ละมุนละไมดีที่สุด สำหรับสภาวะนั้นๆ
  • ปัญญา ปัญญาจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และแนะสอนใจให้เราค่อยๆ แลเห็นว่า อะไรคือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ กันแน่ และเริ่มต้นอยู่ได้ ด้วยความพอใจ ในความมี ความเป็นของเรา เมื่อเราเอาปัญญา แนะสอนตัวของเรา บ่อยครั้งเข้า ความหวั่นไหว ความสับสน ความไม่แน่ใจก็จะค่อยๆ คลายลงไป เราจะมีหลักของเรา เราเริ่มมองเห็นว่า บางครั้งใจของเราไม่ได้ต้องการอย่างนั้นจริงๆ แต่มันเกิดจากความอยาก ความโลภ ซึ่งเป็นของเกินพอ เกินความจำเป็น
  • เพื่อแก้ไขขัดเกลาสันดานของตน ให้เป็นคนประณีตขึ้น เป็นคนจิตใจสะอาด ผ่องใสขึ้น เมื่อเรากำหนดสติเพ่งมองเข้าไปในใจของเรา เราแลเห็นว่าเรามีข้อบกพร่อง


    การใช้สมาธิกับการนวดไทย
     
    การฝึกปฏิบัติการนวดไทย มีการเชื่อมโยง กับการสร้างสมาธิ ตามพระพุทธศาสนา อาศัยศีล เป็นการสร้างพื้นฐานจิตใจให้มั่นคง และการสมาธิภาวนา ช่วยให้จิตนิ่ง สามารถนวดได้อย่างมีประสิทธิผล การฝึกปฏิบัตินวด หลายสำนักใช้สมาธิ ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลโดยตรง กับหมอนวดและผู้ถูกนวดในด้านการรักษา
    จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็น ของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการนวดหลายท่าน เกี่ยวกับประเด็น ของการใช้สมาธิกับการนวดไทย สรุปได้ดังนี้
    อาจารย์สอนนวด ประจำโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัยฯ
    การนวด ต้องอาศัยการวางนิ้วมือลงไป ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เพื่อการไหลเวียนโลหิต เป็นศิลปะของการรักษา ให้ความสมดุลของร่างกาย ซึ่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ กลับสู่สภาพปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
    • สภาพร่างกายของผู้ป่วย ที่จะมาพบหมอ ว่ามีความเย็น ร้อน อ่อนแข็ง สภาพเช่นไร สามารถแก้ไข ให้คืนสู่สภาพปกติได้เท่าไร เนื่องจากอิริยาบถทั้ง 4 ของมนุษย์ที่ดำรงอยู่ ในปัจจุบันต้องทน ต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่เป็นไปในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น สารต่างๆ ที่เกิดจากการปรับสภาพ บางทีเราไม่อาจทราบได้ หรือรู้เท่าความเป็นไป ทางด้านวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นจะต้องหาวิธีแก้ ด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อให้เกิดความสมดุล
    • ความสมดุลภายใน หมอนวดต้องวางจิตให้เป็นกลาง สภาพเหตุใด ที่เกิดขึ้นเรื่องร่างกาย อารมณ์ และจิต สิ่งทีเกิดขึ้น ควรจะมองในแง่บวกมากกว่าลบ เพื่อให้สภาพของร่างกาย ของหมอมีพลัง ที่สามารถนำไปใช้ในการบำบัด หรือรักษา แก้ไขเหตุการณ์กับสภาพต่างๆ ที่หมอพบเห็น และได้เรียนรู้ สิ่งนี้จะทำให้หมอนวด มีประสิทธิภาพ ในด้านการทำงาน ทางด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่ตามมา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    หลักการฝึกสมาธิ เพื่อใช้นวดยึดหลักสำคัญ คือ "มืออยู่ทีไหน ใจอยู่ที่นั่น" ทำได้โดยการฝึกนิ้ว และฝึกใจ สำดับเหตุการณ์ ตั้งแต่เริ่มเรียน จนกระทั่งจบ ว่าทำอะไรบ้าง หมั่นทบทวน เพื่อให้เกิดความชำนาญ เมื่อฝึกนานเข้า ความชำนาญจะเกิดขึ้น แล้วจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ฉะนั้น การปฏิบัติการของหมอนวด ควรปฏิบัติ และทบทวนเป็นประจำ สังเกตความเย็น ร้อน อ่อนแข็ง เพื่อเป็นฐานแห่งการเปรียบเทียบ จะทำให้หมอมีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดไป
    นอกจากนี้ การกำหนดลมหายใจเข้า ขณะที่วางนิ้วมือลงบนตัวผู้นวด และหายใจออก ขณะที่กดนิ้วมือลงไป หมอนวดจะรู้สติอยู่ตลอดเวลา นวดแล้วไม่เหนื่อย และไม่เบื่อหน่ายกับการนวด หลักการสำคัญ คือ เอาจิตมาจับกับอิริยาบถเคลื่อนไหว

    ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดปากเกร็ด
    การสำรวจจิตให้เป็นสมาธิ เป็นมารยาท ในขณะทำการนวด ของหมอนวดตาบอดทุกคน ทางศูนย์ฯ สอนให้หมอนวดฝึกสมาธิ ระลึกคุณครู อาจารย์ ผู้ป่วย แล้วซักถามอาการ ตรวจวินิจฉัย แล้วจึงทำการนวด ตามแบบแผน
    ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดปากเกร็ด มีวิธีการฝึกสมาธิควบคู่ไปกับการเรียนนวด ในระยะเวลา 1 ปีแรก ฝึก 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจัดการสอนโดยนักจิตวิทยา หลักการฝึกสมาธิของศูนย์ฯ จะฝึกให้หมอนวดทอเสื่อ โดยเริ่มตั้งแต่การทอแบบง่ายๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้น เป็นลายถักทอ ในขั้นตอนการฝึกนั้น ครูไม่แจ้งวัตถุประสงค์การสอน ให้หมอนวดทราบ แต่ให้ฝึกทอเสื่อเป็นระยะเวลา 1 เดือนก่อน แล้วจึงแจ้งให้ทราบว่า ฝึกเพื่อช่วยทำให้เกิดสมาธิ มีความจำ และฝึกนิ้วมือสู่การสัมผัส เมื่อหมอนวดทราบแล้ว ครูจะเริ่มฝึกแบบฝึกหัดที่ยากขึ้น และประเมินดูการพัฒนาเป็นรายบุคคล นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังให้หมอนวดฝึกนั่งสมาธิทุกเสาร์ วันละ 1 ชั่วโมงอีกด้วย

    นายกสมาคมเภสัช และอายุรเวชโบราณ แห่งประเทศไทย (วัดสามพระยา)
    การทำงาน คือ การมีสมาธิในการเคลื่อนไหว การนวดต้องอาศัยสมาธิ หมอนวดทุกคน เมื่อทำการนวด ต้องยกมือไหว้ครู ตั้งสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ มือจะสั่น กดได้ไม่ลึกลงถึงจุดที่ต้องการกด การมีสมาธิ ทำให้รับรู้ถึงความแข็ง นิ่ม อ่อน ร้อน เย็น หมอนวดต้องเอาจิตมาจับกับอิริยาบถเคลื่อนไหว นอกจากนี้ มีการกำหนดลมหายใจเข้า ขณะที่วางนิ้วมือ ลงบนตัวผู้นวด และหายใจออก ขณะที่กดนิ้วมือลงไป หมอนวดจะรู้สติอยู่ตลอดเวลา นวดแล้วไม่เหนื่อย และไม่เบื่อหน่ายกับการนวด หลักการสำคัญ คือ เอาจิตมาจับกับอิริยาบถเคลื่อนไหว

    บทความ จาก สถาบันแพทย์แผนไทย 

คำไหว้ครู

คำไหว้ครูของเจ้าพระยาเสด็จพระสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย  มาลากุล)
 
          ข้าพเจ้า  ขอประณตน้อม  ศิรวันทนาการ  แต่ท่านอาจารย์ผู้ทรงคุณปกติการุณยภาพ  ในศิษย์สานุศิษย์ทั้งปวง  ว่าโดยย่อเป็นสามประการ  คือ
          เมตตาคุณ  มีจิตปรารถนาและพยายาม  เพื่อชักนำให้ศิษย์ประพฤติดี  มีสันดานมั่นอยู่ในทางที่ชอบ  และประกอบแต่ล้วนคุณประโยชน์  ประการหนึ่ง
          กรุณาคุณ  มีจิตปรารถนาและพยายาม  เพื่อขัดเกลาสันดานศิษย์  คือกำจัดความชั่วอันมัวหมอง  และเป็นมุลเหตุแห่งทุกข์  โทษภัยทั้งปวง  ให้ล่วงเสียประการหนึ่ง
          อนุสิฏฐิคุณ  มีจิตปรารถนาและพยายาม  พร่ำแจงแสดงเวทย์  ขจัดเหตุสงสัยให้ได้ความสว่าง  ประดุจนำไปด้วยดวงประทีป  เพื่อจะปลูกฝังความรู้  ไปไว้ในสันดานแห่งศิษย์  ให้เป็นผู้ฉลาดแหลมคมด้วยปัญญา  ประการหนึ่ง
          ขอท่านอาจารย์รับเครื่องสักการะ  อันข้าพเจ้าน้อมนำมา  และจงสำแดงซึ่งปกติคุณูปการ  แก่ข้าพเจ้า  ประดุจนายช่างหม้อ  ผู้พยายามกล่อมเกลา  เพื่อให้หม้อมีรูปร่างอันดีฉันนั้น  ข้าพเจ้าขอแสดงแก่ท่านอาจารย์  พร้อมทั้งกายและใจว่า  ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความสดับ  เพื่อให้ได้รับโอวาทด้วยความเคารพอยู่ทุกเมื่อ
          ขอเดชะปูชนียาธิษฐานอันนี้  จงดลบันดาลให้  สติปัญญาของข้าพเจ้า  แตกประดุจหญ้าแพรกดอกมะเขือ  และให้งอกงามเจริญขึ้นโดยเร็วพลัน  นับแต่กาลวันนี้  ให้การศึกษาของข้าพเจ้า  เป็นผลสำเร็จอันดี  ดุจคำอธิษฐานฉะนี้  เทอญ



บทคารวะ และอธิษฐาน
 
ว่าด้วยเรื่องระเบียบและวิธีการนวดในราชสำนัก  ข้าพเจ้าได้เรียนมาจาก
ท่านอาจารย์กรุด  ลูกศิษย์หลวงวาโย
ท่านอาจารย์ชิต  เดชพันธ์  บุตรชายคนเล็กของหมออินทร์เทวดา
ท่านอาจารย์หลวงรักษา  แพทย์ในราชสำนัก
ท่านอาจารย์พัว  หลายศรีโพธิ์  ลูกศิษย์หลวงามเดชะ

ว่าด้วยเรื่องสัญญาณ 5  และมาตราส่วนองศา  ข้าพเจ้าขอระลึกถึงบรมครูมวยไทย  และบรมครูดาบไทย  ซึ่งท่านมีกำหนดกฏเกณฑ์และระเบียบศิลปะไว้คล้ายคลึงกัน  ทำให้ข้าพเจ้านำมาดัดแปลงเป็นหลักวิชา  ในการกำหนด  ตรวจองศาและกระดูกและโรคที่เกิดขึ้น  ตลอดจนลีลาท่านวดที่ใช้ในการรักษาโรค
ข้าพเจ้าได้ขอกราบนมัสการเทพดาบสทั้งร้อยแปดองค์ผู้ทรงฌาณ  ซึ่งได้มีท่านอาจารย์บรมครูชีวกโกมารภัจจ์  เป็นประธานอันประเสริฐ  และขอกราบนมัสการบรมครูทั้งหลาย  ที่กล่าวมาข้างต้นและเทวา  อนุญาตให้ข้าพเจ้าสอนศิษย์ให้รู้โรค  และรู้นวดเป็นยา  ที่จะแก้โรคทั้งหลาย  อีกทั้งขอเทวา  อนุญาตเขียนตำราหัตถเวช  เพื่อให้เป็นเครื่องสังเกตแก่ลูกศิษย์ลูกหาทั้งปวง  ขออย่าให้ข้าพเจ้านี้  สอนผิดพลาดประการใด  ขอให้สอนได้แม่นยำและเที่ยงตรง  เหมือนดังบรมครูสอนเองทุกประการ  ขออานุภาพท่านบรมครูทั้งหลาย  ช่วยเมตตาปกป้องคุ้มครอง  และเชิดชูตัวข้าพเจ้าและศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย  ที่หมายจะดำรงศิลปะนวดไทยในราชสำนัก  ขอให้วิทยาการเผยแพร่กระจายไปทุกทิศานุทิศ  เป็นเกียรติศักดิ์อันพึงสัมฤทธิ์  แก่สถาบันอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) และประเทศไทยชั่วกาลนาน
ข้าพเจ้าขอน้อมจิตอธิฐาน  ขอกุศลอันพึงมีจากการสอน   และการใช้ตำราหัตถเวช  ในการปลดเปลื้องทุกข์ของคนไข้  จงบังเกิดมีแก่ท่านเทพยดาและท่านบรมครู  อาจารย์ผู้มีคุณูปการอันยิ่งด้วยเทอญ
 อาจารย์ณรงค์สักข์  บุญรัตนหิรัญ






จาก สถาบันแพทย์แผนไทย