วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

กดจุด... รักษาถูกที่หมาย...ลดปวดเรื้อรัง

 การกดจุด ถือเป็นวิธีการบรรเทาอาการปวดเรื้อรังอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องรับประทานยา สามารถรักษาอาการปวดได้ตรงจุด ลดการปวดและป้องกันการเกิดซ้ำ โดยนำหลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์มาใช้ในการรักษา ซึ่งรักษาโดยการกดเฉพาะจุดในตำแหน่งที่มีปัญหาหรือกล้ามเนื้อที่มีความ เชื่อมโยงกันจนทำให้เกิดอาการปวด

การกดจุด เป็น การกดกล้ามเนื้อมัดลึก โดยจะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายและเช็กกล้ามเนื้อคนไข้ก่อน เพื่อประเมินว่าจะรักษาโดยวิธีการกดจุดได้หรือไม่ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แนะ นำให้เข้ารับการรักษา คือ ผู้ป่วยที่ เป็นโรคผิวหนังทุกชนิดที่สามารถจะติดต่อผู้อื่นได้ คนไข้ที่มีภาวะของมะเร็งต่าง ๆ คนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป และในส่วนของกระดูกแตก กระดูกร้าว จะไม่แนะนำให้เข้ารับรักษาเช่นกัน
   
สำหรับคนไข้ที่เป็นเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง สามารถเข้ารับการรักษาโดยการกดจุดได้ แต่ต้องตรวจสภาพความพร้อมของร่างกายทุกครั้ง โดยจะเข้ารับการรักษาอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 40-45 นาที ซึ่งคนไข้จะรู้สึกเจ็บในช่วง 15-20 นาทีแรก จากนั้นจะรู้สึกสบายตัวขึ้น ถ้ากล้ามเนื้อมีการปรับตัวหรือคลายตัวลง โดยแพทย์จะกดลงจุดให้คนไข้แต่ละคนไม่เท่ากัน โดยจะประเมินตามสภาพกล้ามเนื้อของคนไข้ว่าจะรับน้ำหนักได้มากน้อยเพียงใด หลังจากนั้น ถ้าสภาพกล้ามเนื้อคลายตัวได้เร็วขึ้นก็จะรู้สึกดีขึ้นอาการปวดจะลดลง
 
โดยปกติกล้ามเนื้อของคนทั่วไปจะไม่มีก้อน แต่กลุ่มคนไข้ที่มีอาการปวดเรื้อรังกล้ามเนื้อจะเป็นก้อน ในขณะที่การรักษาเมื่อกดจุดลงไปจะคลำเจอก้อนเนื้อจนคนไข้รู้สึกได้เลยว่า ตำแหน่งที่กำลังกดจุดอยู่นั้นมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ โดยก้อนเนื้อที่ทำให้ปวดเรื้อรังนี้ไม่ใช่ซีสต์ ไม่ใช่ก้อนมะเร็ง แต่เป็นพังผืดในมัดกล้ามเนื้อที่มีภาวะหดเกร็งสะสมแล้วแทรกอยู่ในมัดกล้าม เนื้อ ซึ่งแสดงออกมาในภาวะที่เป็นก้อนเกร็งขึ้นมา ทำให้คนไข้เกิดอาการปวด
 
“การกดจุดนี้ก็เพื่อให้พังผืดที่มีการเกาะรั้งในตำแหน่งมัดกล้ามเนื้อข้าง ๆได้มีการคลายตัวแล้วก็มีการหลุดออกจากตำแหน่งที่เกาะในบางส่วน หลังจากนั้นเลือดจะเป็นตัวย่อยสลายเอง เนื่องจากเลือดเป็นตัวย่อยสลายพังผืดในมัดกล้ามเนื้อที่ดีที่สุด ซึ่งการกดจุดจะเป็นการกระตุ้นทำให้เลือดมีการฉีดตัวได้แรงขึ้น มีการปั๊มได้แรงขึ้น ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงส่วนที่เป็นก้อนได้ดีมากขึ้น ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการรักษาเพื่อให้ร่างกายกลับมาสู่สภาวะสมดุล”
 
ลักษณะการกดไม่ได้กดนิ่ง แต่จะกดแล้วขยับไปรอบ ๆ ก้อนเนื้อ หรือรอบ ๆ กล้ามเนื้อที่มีปัญหา โดยก้อนเนื้อไม่ได้สลายไปเลยทีเดียวแต่ก้อนเนื้อจะนิ่มลง กล้ามเนื้อที่มีภาวะหดเกร็งอยู่ได้คลายตัวลง เลือดจะเข้าไปเลี้ยงได้ดีขึ้น แต่ในกรณีที่เมื่อกดไปแล้วกล้ามเนื้อยังเกร็งอยู่จะพบในคนไข้ที่กินยาแก้ปวด มานานเป็นเวลา 8-10 ปี จึงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ยาก ในกรณีเช่นนี้จะต้องใช้เวลาในการกดจุดนานกว่าคนไข้ที่เพิ่งเป็น 2-3 ปี
 
ระยะการรักษาขึ้นอยู่กับอาการปวดของคนไข้แต่ละคน ส่วนใหญ่เข้ารักษา 2 เดือนก็จะเห็นผล โดยอาการจะดีขึ้นแต่ไม่ได้หายจากอาการปวดเรื้อรัง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการรักษาให้ดีขึ้นได้ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับการดูแลตน เองของคนไข้ว่าจะมีการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ถูกต้องในแต่ละวันได้หรือไม่ เช่น ไม่นั่งในท่าเดิมนาน ๆ หรือแม้แต่สะพายกระเป๋าหนัก ๆ บนบ่าเป็นประจำโดยไม่เปลี่ยนข้างสะพาย ไม่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนัก ๆ รวมทั้ง ต้องหมั่นบริหารยืดกล้ามเนื้อร่วมด้วยโดยแพทย์จะสอนหลังจากเข้ารับการรักษา โดยการกดจุดแล้ว ซึ่งเป็นการฝึกบริหารกล้ามเนื้อในระหว่างวันไม่ให้อยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อกลับมาหดเกร็งเหมือนเดิม
 
การดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง สามารถทำได้โดยมีการพักเพื่อยืดกล้ามเนื้อบ้าง 5-10 นาที ทุก ๆ 1 ชั่วโมง โดยการหมุนแขนเบา ๆ หรือจะเป็นท่าหันหน้าซ้ายให้สุดนับ 1-10 จากนั้นสลับเป็นด้านขวานับ 1-10 ทำสลับซ้ายขวา 5-10 ครั้ง รวมทั้ง เอามือดึงศีรษะไปด้านข้าง ซ้าย-ขวา นับ 1-10 ทำสลับกัน 5-10 ครั้งเช่นกัน โดยการทำทุกท่าจะต้องไม่ฝืน ถ้ารู้สึกตึงก็ปล่อยกลับสู่สภาพปกติ ก็จะเป็นการยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดได้.

..........................................

งดบริโภคเนื้อสัตว์เทศกาลกินเจ ช่วยดีท็อกซ์สารพิษ - เคล็ดลับสุขภาพดี

เทศกาลกินเจเป็นเทศกาลหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้คนเราได้งดการบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งนอกจากจะได้บุญแล้วยังดีต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีวิธีรับประ ทานอาหารเจเพื่อดีท็อกซ์สารพิษในร่างกายทำให้ห่างไกลโรคร้าย ๆ มาฝากกันค่ะ
 
ไลฟ์ เซ็นเตอร์ ศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพเปิดเผยว่า มนุษย์เราเป็นสัตว์กินพืช ดังนั้นระบบอาหารของมนุษย์จึงเหมาะสำหรับการย่อยจำพวกพืช ผัก ผลไม้ แต่เรามักชอบรับประทานเนื้อสัตว์กันเสียมากกว่าจึงทำให้ใช้เวลาในการย่อยนาน ถึง 7 วัน ทำให้เกิดการหมักหมมในลำไส้บูดเน่า เกิดเป็นแก๊สพิษสะสมและตกค้างอยู่ในร่างกาย เมื่อมีสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายก็ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา สำหรับอาการของคนที่มีสารพิษตกค้างสะสมอยู่ในร่างกาย เช่น ปวดศีรษะบ่อย หงุดหงิด ปวดเมื่อยไหล่ คอ อ่อนเพลีย ง่วงนอน ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก เป็นต้น การลด ละ เลิกรับประทานเนื้อสัตว์จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดสารพิษในร่างกาย
 
ในช่วงเทศกาลกินเจมีหนุ่มสาวสมัยใหม่หันมาเลิกทานเนื้อสัตว์มากขึ้นทุกปี ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำบุญแล้วยังเป็นการดีท็อกซ์สารพิษในร่างกายอีกทางหนึ่ง ด้วย เพราะการลด ละ เลิกทานเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ลำไส้ในร่างกายได้พักและล้างสารพิษที่ตก ค้างอยู่ในร่างกายและการทานผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ ทดแทนจะช่วยเพิ่มกากใยอาหาร ที่สำคัญควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงในทุกมื้ออาหาร ได้แก่ ส้มโอ แก้วมังกร สับปะรด เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
อย่างไรก็ตามเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินจากผลไม้อย่างเต็มที่ควรกินผลไม้ ก่อนรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือแป้งจำนวนมากรวมถึงอาหารที่มีรสหวาน หลังรับประทานไม่ควรดื่มน้ำทันที (ดื่มแก้ติดคอเล็กน้อย) ควรเว้นระยะห่างประมาณ 15 นาที เพื่อให้น้ำย่อยทำงานในการย่อยได้อย่างเต็มที่ และควรหาโอกาสล้างสารพิษในร่างกายด้วยการจัดมื้ออาหารแต่ละมื้อเป็นพวกผัก และผลไม้สด โดยไม่ผ่านความร้อนหรือการปรุงแต่ง    ใด ๆ นานประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำได้ตลอดสัปดาห์อาจใช้วิธีการบริโภคแต่ผักและผลไม้สด แบบไม่ผ่านความร้อน ไม่ผสมเนื้อสัตว์หรือส่วนประกอบของเนื้อสัตว์และสารปรุงแต่งจำนวน 1-2 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ระบบย่อยได้หยุดพัก กระตุ้นให้กระบวนการขับสารพิษทำงานมากขึ้น บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ ให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องที่สะอาดตามมาก ๆ เพื่อเป็นการปรับสมดุลแก่ร่างกายและควรทำเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง
 
การงดบริโภคเนื้อสัตว์เป็นช่วง ๆ จะช่วยทำให้ร่างกายได้ปรับสมดุลและปรับระบบการย่อยอาหาร ซึ่งเราสามารถทำได้ทุกช่วงเวลาและทุกโอกาสตามความสะดวก เพื่อให้ร่างกายของเรามีสุขภาพดีปราศจากสารพิษตกค้างและห่างไกลจากโรค เรื้อรัง ต่าง ๆ ที่จะตามมาค่ะ



จาก เดลินิวส์

นวดมือบำบัด 15อาการ

ปาฏิหาริย์นวดมือบำบัด 15 อาการยอดฮิต
1. นวดกระตุ้นต่อมไทรอยด์

ต่อม ไทรอยด์เป็นต่อมที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลักสองตัว ได้แก่ ไทร็อกซิน ซึ่งทำหน้าที่เร่งการทำงานของระบบเผาผลาญอาหาร และ คาลซิโทนิน ซึ่งทำหน้าที่ลดระดับแคลเซียมในเลือด

ต่อม ไทรอยด์ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภายในร่างกาย ระดับน้ำและพลังงานในเนื้อเยื่อ รวมถึงความหนาแน่นของกระดูก พัฒนาการและการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ การทรงตัว ความสงบใจ และสุขภาพโดยรวม
เราอาจกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข เบิกบาน หรือซึมเศร้า เชื่องช้า เก็บกด ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ทั้งสิ้น

วิธีการนวดมีดังนี้
·       ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่งกดที่โคนนิ้วหัวแม่มือด้านในของอีกข้างหนึ่ง
·       นวดกดไล่ไปรอบๆบริเวณนี้
หากมีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ จะรู้สึกเจ็บเวลากด
2. นวดเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น

ถ้าระบบประสาทเหนื่อยล้า การทำงานของกล้ามเนื้อตาก็จะไม่สมบูรณ์ เพราะกล้ามเนื้อตาทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาท

การปฏิบัติเพื่อถนอมสายตานั้น ได้แก่ การออกกำลังกาย อาหารสุขภาพ พร้อมกินวิตามินเสริมบ้าง

ส่วนวิธีนวดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นมีดังนี้
·       ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดกดหมุนบริเวณโคนนิ้วทุกนิ้ว นวดนานนิ้วละสอง-สามวินาที
·       นวดถูให้ทั่วมือ
·       นวดตามแบบข้อ 1 อีกครั้ง แต่นวดนานนิ้วละหนึ่ง-สองนาที
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ควรนวดเป็นประจำทุกวัน
นอก จากนี้แล้ว ควรนวดจุดสะท้อนตับบนมือขวา และนวดจุดสะท้อนไตของทั้งสองมือไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้ร่างกายได้ทำความสะอาดพลังงานคั่งค้างออกไปทางอวัยวะทั้งสองนี้ ฉะนั้น หากสุขภาพตับและไตไม่ดี มักมีปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการมองเห็นด้วยเช่นกัน

3. นวดกระตุ้นการได้ยิน

การได้ยิน คือ การเดินทางของพลังงานจากหลายส่วน ส่วนแรกคือ พลังงานเสียงที่มากระทบหูภายนอก ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วก้อย
ส่วนที่สองคือ พลังงานเสียงที่ผ่านเข้าไปในช่องหู ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วนาง
ส่วนที่สามคือ พลังงานการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง ที่ก่อให้เกิดอาการสั่นสะเทือนของอวัยวะภายในหู ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วกลาง
ส่วนที่สี่คือ พลังงานของคลื่นเสียงที่ก่อให้เกิดอาการสั่นสะเทือนของประสาทเล็กประสาทน้อยภายในหู ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วชี้
ส่วนที่ห้าคือ พลังงานจากการสั่นสะเทือนของเสียงที่เดินทางไปแปลความหมายที่สมอง ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วโป้ง

วิธีนวดเพื่อกระตุ้นการได้ยินมีดังนี้
·       นวดกดปลายนิ้วทุกนิ้ว ค้างไว้นิ้วละ 4 นาที เพื่อส่งพลังผ่านไซนัสที่สัมพันธ์กับการได้ยิน
·       นวดกดจุดสะท้อนต่อมพิทูทารี ซึ่งอยู่ตรงกลางนิ้วโป้ง เพื่อเพิ่มการพลังสมอง

4. นวดแก้ไอ


จุด สะท้อนลำคอนั้นตั้งอยู่บริเวณนิ้วโป้งและนิ้วใกล้เคียง ฉะนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นที่ลำคอ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บคอหรือไอ จึงต้องนวดกดบริเวณนั้น

วิธีการมีดังนี้คือ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กดบีบบริเวณโคนนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ค้างไว้นานราว 5-10 นาที
5. นวดแก้ปวดไมเกรน

อาการปวดไมเกรนเกิดจากความไม่ปกติของการไหลเวียนโลหิตในสมอง แพ้อาหารหรือความตึงเครียดของร่างกาย

การบำบัดอาการปวดไมเกรนคือ การทำให้เส้นประสาทต่างๆผ่อนคลาย พร้อมกันนั้นก็กระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น

วิธีการนวดมือคือ
·       นวด ผ่อนคลายจุดสะท้อนต่อมพิทูทารีและต่อมอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มเอ็นด็อกริน ซึ่งอยู่บริเวณนิ้วโป้ง เพื่อสร้างความสมดุลของฮอร์โมนและลดระดับสารเอ็นโดฟิน
·       นวดกดจุดสะท้อนหัวใจ เพื่อให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองดีขึ้น
·       นวดกดจุดสะท้อนตับ เพื่อกระตุ้นให้ตับขับสารพิษ และช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารและการดูดซึม

6. นวดแก้ปวดข้อ


ไม่ ว่าสาเหตุของอาการปวดข้อจะมาจากรูมาตอยด์ เก๊าต์ หรือเอสแอลอี แต่การเยียวยาอาการก็ไม่ต่างกัน นั่นคือ ออกกำลังกาย กินอาหารสุขภาพ ลดความเครียด

การนวดมือก็สามารถช่วยบรรเทาอาการ ปวด และการฟื้นฟูการทำงานของข้อได้ เพราะการนวดมือช่วยสร้างสมดุลให้อวัยวะภายใน ด้วยการกระตุ้นระบบการไหลเวียน ขับท็อกซิน ออกไปจากระบบการทำงานส่วนนั้นๆ
ฉะนั้นการนวดมือเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ จึงคือการนวดต่อมต่างๆ ในกลุ่มเอ็นด็อกตริน

7. นวดบำบัดไฮโปไกลซีเมีย


ถึงวันนี้ เรายังรู้จักโรคไฮโปไกลซีเมียกันน้อยเหลือเกิน เพราะผู้คนไม่รู้ว่านี่คือโรค ทั้งที่ก่ออันตรายต่อชีวิต

สาเหตุ หลักของโรคไฮโปไกลซีเมียคือ ระดับน้ำตาลต่ำ จึงก่อให้เกิดหลายอาการทั้งทางกายและใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล อาการที่ว่าได้แก่ กระวนกระวาย ปวดหัวไมเกรน ปวดข้อ นอนไม่หลับ ภูมิแพ้
คุณหมอส่วนใหญ่จึงรักษาไปตามอาการที่เป็น บ้างก็รักษาด้วยยาจิตเวช ซึ่งมักเป็นยาที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อาการจึงแย่ลงไปอีก
โรค นี้ไม่เกี่ยวกับต่อมไหนทำงานน้อยหรือมาก ฉะนั้นการนวดมือบำบัดอาการของโรคไฮโปไกลซีเมีย จึงคือการกระตุ้นต่อมต่างๆในกลุ่มเอ็นด็อกตริน เพื่อกระตุ้นระบบอิมมูนซิสเต็มนั่นเอง

8. นวดแก้ผมร่วงและผมหงอก


เส้น ผมมักสะท้อนสุขภาพร่างกายโดยรวม นักวิทยาศาสตร์มักแนะนำให้เรากินโปรตีน ซิลิก้า และแคลเซียมเพื่อเส้นผมสวยแข็งแรง แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าพลังงานไฟฟ้าสถิตย์จากเล็บนั้นช่วยเสริมสุขภาพเส้นผม ได้

การนวดจุดสะท้อนเส้นผม ซึ่งอยู่บริเวณเล็บมือของเรา จึงช่วยยับยั้งการหลุดร่วงและหงอกก่อนวัยได้
·       กำมือทั้งสองข้างไว้หลวมๆ ประกบกำมือทั้งสองข้างเข้าหากัน โดยให้เล็บทั้งสองมือชนกัน
·       ถูเล็บมือซ้ายกับเล็บมือขวาเร็วๆ

ทำท่านี้วันละหนึ่งครั้งๆ ละ 5 นาที

9. นวดแก้ปวดหลัง

หลัง และกระดูกสันหลังมีส่วนสำคัญต่อระบบสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งรวมเส้นประสาทสำคัญมากมาย ทำให้ร่างกายคนเราจะสมบูรณ์แข็งแรงไม่ได้ หากกระดูกสันหลังไม่เรียงกันอยู่ในแนวปกติ
การนวดกดจุดสะท้อนหลังคือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากความตึงเครียด ดังนี้
·       นวดกดจุดสะท้อนกระดูกสันหลังส่วนเซอวิคอล (บริเวณต้นคอ) ซึ่งอยู่บริเวณข้อแรกของนิ้วโป้งมือซ้าย
·       นวดกดจุดสะท้อนกระดูกสันหลังส่วนอื่นๆ ซึ่งอยู่บริเวณข้อแรกของนิ้วโป้งมือขวา

10. นวดกระตุ้นการย่อยอาหาร

กระเพาะ อาหารมีหน้าที่ย่อยทุกสิ่งทุกอย่างที่ร่างกายกินผ่านปากเข้าไป ซึ่งบ้างก็เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย บ้างก็ทำลายกระเพาะอาหาร และทุกระบบของร่างกาย
เมื่อาหารผ่านเข้าปาก การเคี้ยวบดอาหารในปากให้ละเอียดนั้น ช่วยผ่อนแรงกระเพาะอาหารได้อักโข แถมยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย
การนวดกดจุดสะท้อนกระเพาะอาหาร จึงคือการกระตุ้นประสิทธิภาพการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ซึ่งมีท่าดังนี้คือ
·       ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลางมือขวา จับบริเวณจุดสะท้อนกระเพาะอาหาร ซึ่งอยู่บริเวณจุดตัดของโคนนิ้วโป้งและนิ้วชี้มือซ้าย
·       กดคลึงจุดนั้นด้วยนิ้วโป้ง ขณะที่นิ้วชี้และนิ้วกลางกึ่งประคองกึ่งกดด้านหลังมือเอาไว้

11. นวดบำรุงหัวใจ

หัวใจ มีหน้าที่นำออกซิเจนผ่านกระแสเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และนำกลับเข้ามาเติมออกซิเจน โดยกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งนาที
ปกติ กล้ามเนื้อหัวใจมีบทบาทในการทำหน้าที่นี้ ผ่านกริยาการบีบตัว โดยเราสามารถสังเกตได้จากการที่หัวใจเต้นตุบ ตุบ ทุกครั้งที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแล้ว กล้ามเนื้อหัวใจต้องการช่วงเวลาพักนานกว่าจังหวะการบีบตัวเสียอีก
การนวดกดจุดสะท้อนหัวใจ จึงเป็นการบริหารกล้ามเนื้อหัวใจให้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น วิธีการคือ
·       หาตำแหน่งของจุดสะท้อนหัวใจบนมือ นั่นคือ บริเวณกลางฝ่ามือ ใต้นิ้วนางของมือซ้าย
·       2. กดจุดนั้นด้วยนิ้วโป้งซ้าย อีกสี่นิ้วที่เหลือ ประคองหลังมือ และกดจิกหลังมือไว้

12. นวดแก้อาการเป็นลม


อาการ เป็นลม มีสาเหตุจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้สมองขาดออกซิเจน การนวดมือคือ การช่วยกระตุ้นให้มีเลือดไหลเวียนในสมองอย่างเพียงพอ

นวดกดจุดสะท้อนสมองซึ่งคือส่วนปลายสุดของทุกนิ้ว โดยเฉพาะหัวแม่มือ วิธีการคือ
·       เริ่มออกแรงกดปลายสุดของหัวแม่มือซ้ายด้วยหัวแม่มือขวา หมุนวน
·       หาก พบจุดที่นุ่มมากผิดปกติบนปลายหัวแม่มือ นั่นสะท้อนว่าสมองมีปัญหา ให้กดนวดปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางด้วย เพื่อกระตุ้นสมองให้ควบคุมการทำงานของประสาทส่วนกลาง
·       ถ้ายังรู้สึกมึนงงอยู่ ให้กดนวดปลายนิ้วนางและนิ้วก้อยด้วย

13. นวดกระตุ้นตับ


ตับ มีหน้าที่ขับของเสียและพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สะสมวิตามินบางอย่างเพื่อร่างกายไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น วิตามินเอ บี ดี และเหล็ก

ปกติตับจะมีความสามารถในการเยียวยาตัวเองได้ เช่น ถ้าส่วนหนึ่งของตับถูกทำลายไป ตับก็จะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน
การนวดกระตุ้นตับคือ การนวดเพื่อกระตุ้นศักยภาพในการสร้างเซลล์ใหม่ของตับนั่นเอง วิธีคือ
·       หาตำแหน่งของจุดสะท้อนตับบนมือ นั่นคือ บริเวณกลางฝ่ามือ ใต้นิ้วนางของมือขวา
·       กดจุดนั้นด้วยนิ้วโป้งซ้าย นวดถูไปมา ให้กินพื้นที่บริเวณจุดสะท้อนปอดด้วย
·       สลับนวดมือซ้าย เพื่อนวดจุดสะท้อนหัวใจซึ่งอยู่ตำแหน่งเดียวกับตับ

14. นวดกระตุ้นไต

ไต มีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด โดยส่งของดีกลับขึ้นไปฟอกต่อที่หัวใจ ส่วนของเสียก็ผสมกับน้ำและขับออกเป็นปัสสาวะ การนวดมือคือการกระตุ้นให้กระบวนการกรองและขับของเสียมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การนวดกระตุ้นจุดสะท้อนไตมีดังนี้
·       หงายมือข้างซ้ายเข้าหาลำตัว
·       ใช้นิ้วแม่มือขวากดจุดสะท้อนไต ซึ่งอยู่บริเวณจุดตัดระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้
·       ออกแรงกดและหมุนไปรอบๆ บริเวณ นานราวสองสามวินาที
·       สลับนวดมือขวาด้วยนิ้วโป้งข้างซ้าย
หากคุณหมอตรวจพบว่า ไตมีความผิดปกติ เราไม่ควรนวดกดจุดสะท้อนไตนานเกินไป

15. นวดคลายอาการปวดประจำเดือน

ความทรมานระหว่างวันนั้นของเดือนมักส่งผลต่ออารมณ์ของหญิงสาวหลายคน เราสามารถเยียวยาอาการปวดประจำเดือนได้ด้วยการนวดมือดังนี้
·       ยกมือขวาขึ้นตั้งขนานกับลำตัว บิดข้อมือไปทางด้านหลัง
·       ยกมือซ้ายจับข้อมือขวา กดบริเวณข้อมือขวาให้แน่นด้วยนิ้วกลางและนิ้วนาง ทิ้งไว้ 3-15 นาที จึงค่อยๆคลายออก
·       ทำสลับข้าง

 ที่มา    http://www.cheewajit.com

กดจุดรักษาอาการ



นวดกดจุด คลายปวดประจำวัน 

          คนส่วนใหญ่นวดตัวเองโดยสัญชาตญาณอย่างไม่รู้ตัว คือ ใช้มือลูบไล้ตำแหน่งที่เจ็บปวดของร่างกาย ซึ่งการลูบไล้หรือการกดเบา ๆ เป็นการกระตุ้นพลังงานการรักษาความเจ็บปวดด้วยตนเองอย่างหนึ่ง

          ในแต่ละวัฒนธรรมมีการพัฒนาเทคนิคการนวดแตกต่างกัน เช่น การนวดผ่อนคลายความเครียด เพื่อลดความเจ็บปวดในชีวิตประจำวันก็ไม่จำเป็นต้องเข้าคอร์สเรียน เพียงแค่รู้ตำแหน่งที่ถูกต้องก็เพียงพอและใช้เวลา 2-3 นาทีในการกดนวด เพื่อสลายจุดติดขัดของพลังในร่างกายก็จะรู้สึกเป็นสุข นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการปวดศีรษะและโรคหวัดอีกด้วย

           เจ็บคอ  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดไปที่รอยพับเล็บของนิ้วชี้ คือหัวแม่มือขวากดไปที่รอยพับเล็บนิ้วชี้ข้างขวา ส่วนหัวแม่มือซ้ายกดไปที่รอยพับเล็บนิ้วชี้ข้างซ้ายกดประมาณ 3 นาที แม้จะเจ็บก็ต้องกดต่อไปอย่าเกร็ง เพราะมันช่วยลดไข้ ลดอาการเจ็บคอ หน้ามืดวิงเวียน และปวดฟันได้ด้วย

           ปวดฟัน  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปที่ใต้รักแร้ หากกดถูกจุดจะส่งผลไปที่คอจนกระทั่งถึงฟันจนสังเกตได้กด 3 ครั้ง ครั้งละ 7 วินาที

           ท้องขึ้น  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดที่รอยบุ๋มใต้ฝ่าเท้า ระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ต่ำลงมาประมาณ 3 เซนติเมตร กดนวดประมาณ 90 วินาที จากนั้นถูแรง ๆ ไปที่นิ้วเท้า จะช่วยลดอาการปวดท้องได้

           นอนไม่หลับ  การนวดกดจุดเพื่อลดความตึงเครียดก็คือ การใช้นิ้วหัวแม่มือจากมือทั้งซ้ายขวากดไปที่รอยบุ๋มหลังศีรษะทั้งสองข้าง แล้วนวดเป็นวงกลมเบา ๆ จากนั้นกดลงไปเบา ๆ 3 ครั้ง ครั้งละ 7 วินาที นอกจากจะช่วยให้นอนหลับ แล้วยังช่วยลดอาการปวดศรีษะและโรคหวัดได้ด้วย

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

นวดฝ่ามือรักษาอาการ



ปาฏิหาริย์นวดมือบำบัด 15 อาการยอดฮิต (ชีวจิต)

          ใครที่มีปัญหาสุขภาพ วันนี้มีวิธีบำบัดอาการเหล่านั้นด้วยการนวดมือมาบอกต่อกันค่ะ

 1. นวดกระตุ้นต่อมไทรอยด์

          ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลักสองตัว ได้แก่ ไทร็อกซิน ซึ่งทำหน้าที่เร่งการทำงานของระบบเผาผลาญอาหาร และคาลซิโทนิน ซึ่งทำหน้าที่ลดระดับแคลเซียมในเลือด

          ต่อมไทรอยด์ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภายในร่างกาย ระดับน้ำและพลังงานในเนื้อเยื่อ รวมถึงความหนาแน่นของกระดูก พัฒนาการและการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ การทรงตัว ความสงบใจ และสุขภาพโดยรวม

          เราอาจกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข เบิกบาน หรือซึมเศร้า เชื่องช้า เก็บกด ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ทั้งสิ้น

วิธีการนวดมีดังนี้

           ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่ง กดที่โคนนิ้วหัวแม่มือด้านในของอีกข้างหนึ่ง

           นวดกดไล่ไปรอบ ๆ บริเวณนี้

          หากมีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ จะรู้สึกเจ็บเวลากด

 2. นวดเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น

          ถ้าระบบประสาทเหนื่อยล้า การทำงานของกล้ามเนื้อตาก็จะไม่สมบูรณ์ เพราะกล้ามเนื้อตาทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาท

          การปฏิบัติเพื่อถนอมสายตานั้น ได้แก่ การออกกำลังกาย อาหารสุขภาพ พร้อมกินวิตามินเสริมบ้าง

ส่วนวิธีนวดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นมีดังนี้

           ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดกดหมุนบริเวณโคนนิ้วทุกนิ้ว นวดนานนิ้วละสอง-สามวินาที

           นวดถูให้ทั่วมือ

           นวดตามแบบข้อ 1 อีกครั้ง แต่นวดนานนิ้วละหนึ่ง-สองนาที

          เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ควรนวดเป็นประจำทุกวัน

          นอกจากนี้แล้ว ควรนวดจุดสะท้อนตับบนมือขวา และนวดจุดสะท้อนไตของทั้งสองมือไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้ร่างกายได้ทำความสะอาดพลังงานคั่งค้าง ออกไปทางอวัยวะทั้งสองนี้ ฉะนั้น หากสุขภาพตับและไตไม่ดี มักมีปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการมองเห็นด้วยเช่นกัน

 3. นวดกระตุ้นการได้ยิน

          การได้ยิน คือ การเดินทางของพลังงานจากหลายส่วน ส่วนแรกคือ พลังงานเสียงที่มากระทบหูภายนอก ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วก้อย

          ส่วนที่สองคือ พลังงานเสียงที่ผ่านเข้าไปในช่องหู ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วนาง

          ส่วนที่สามคือ พลังงานการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง ที่ก่อให้เกิดอาการสั่นสะเทือนของอวัยวะภายในหู ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วกลาง

          ส่วนที่สี่คือ พลังงานของคลื่นเสียง ที่ก่อให้เกิดอาการสั่นสะเทือนของประสาทเล็กประสาทน้อยภายในหู ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วชี้

          ส่วนที่ห้าคือ พลังงานจากการสั่นสะเทือนของเสียงที่เดินทางไปแปลความหมายที่สมอง ซึ่งสัมพันธ์กับนิ้วโป้ง

วิธีนวดเพื่อกระตุ้นการได้ยินมีดังนี้

           นวดกดปลายนิ้วทุกนิ้ว ค้างไว้นิ้วละ 4 นาที เพื่อส่งพลังผ่านไซนัสที่สัมพันธ์กับการได้ยิน

           นวดกดจุดสะท้อนต่อมพิทูทารี ซึ่งอยู่ตรงกลางนิ้วโป้ง เพื่อเพิ่มการพลังสมอง

 4. นวดแก้ไอ

          จุดสะท้อนลำคอนั้นตั้งอยู่บริเวณนิ้วโป้งและนิ้วใกล้เคียง ฉะนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นที่ลำคอ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บคอหรือไอ จึงต้องนวดกดบริเวณนั้น

          วิธีการมีดังนี้คือ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กดบีบบริเวณโคนนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ค้างไว้นานราว 5-10 นาที

 5. นวดแก้ปวดไมเกรน

          อาการปวดไมเกรนเกิดจากความไม่ปกติของการไหลเวียนโลหิตในสมอง แพ้อาหารหรือความตึงเครียดของร่างกาย

          การบำบัดอาการปวดไมเกรนคือ การทำให้เส้นประสาทต่าง ๆ ผ่อนคลาย พร้อมกันนั้นก็กระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น

วิธีการนวดมือคือ

           นวดผ่อนคลายจุดสะท้อนต่อมพิทูทารีและต่อมอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเอ็นด็อก ริน ซึ่งอยู่บริเวณนิ้วโป้ง เพื่อสร้างความสมดุลของฮอร์โมนและลดระดับสารเอ็นโดฟิน

           นวดกดจุดสะท้อนหัวใจ เพื่อให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองดีขึ้น

           นวดกดจุดสะท้อนตับ เพื่อกระตุ้นให้ตับขับสารพิษ และช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารและการดูดซึม

 6. นวดแก้ปวดข้อ

          ไม่ว่าสาเหตุของอาการปวดข้อจะมาจากรูมาตอยด์ เก๊าต์ หรือเอสแอลอี แต่การเยียวยาอาการก็ไม่ต่างกัน นั่นคือ ออกกำลังกาย กินอาหารสุขภาพ ลดความเครียด

          การนวดมือก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด และการฟื้นฟูการทำงานของข้อได้ เพราะการนวดมือช่วยสร้างสมดุลให้อวัยวะภายใน ด้วยการกระตุ้นระบบการไหลเวียน ขับท็อกซิน ออกไปจากระบบการทำงานส่วนนั้น ๆ

          ฉะนั้นการนวดมือเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ 

         คือการนวดต่อมต่าง ๆ ในกลุ่มเอ็นด็อกตริน

 7. นวดบำบัดไฮโปไกลซีเมีย

          ถึงวันนี้ เรายังรู้จักโรคไฮโปไกลซีเมียกันน้อยเหลือเกิน เพราะผู้คนไม่รู้ว่านี่คือโรค ทั้งที่ก่ออันตรายต่อชีวิต

          สาเหตุหลักของโรคไฮโปไกลซีเมียคือ ระดับน้ำตาลต่ำ จึงก่อให้เกิดหลายอาการทั้งทางกายและใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล อาการที่ว่าได้แก่ กระวนกระวาย ปวดหัวไมเกรน ปวดข้อ นอนไม่หลับ ภูมิแพ้

          คุณหมอส่วนใหญ่จึงรักษาไปตามอาการที่เป็น บ้างก็รักษาด้วยยาจิตเวช ซึ่งมักเป็นยาที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อาการจึงแย่ลงไปอีก

          โรคนี้ไม่เกี่ยวกับต่อมไหนทำงานน้อยหรือมาก ฉะนั้นการนวดมือบำบัดอาการของโรคไฮโปไกลซีเมีย จึงคือการกระตุ้นต่อมต่าง ๆ ในกลุ่มเอ็นด็อกตริน เพื่อกระตุ้นระบบอิมมูนซิสเต็มนั่นเอง

 8. นวดแก้ผมร่วงและผมหงอก

          เส้นผมมักสะท้อนสุขภาพร่างกายโดยรวม นักวิทยาศาสตร์มักแนะนำให้เรากินโปรตีน ซิลิก้า และแคลเซียม เพื่อเส้นผมสวยแข็งแรง แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าพลังงานไฟฟ้าสถิตย์จากเล็บนั้น ช่วยเสริมสุขภาพเส้นผมได้

การนวดจุดสะท้อนเส้นผม ซึ่งอยู่บริเวณเล็บมือของเรา จึงช่วยยับยั้งการหลุดร่วงและหงอกก่อนวัยได้

           กำมือทั้งสองข้างไว้หลวม ๆ ประกบกำมือทั้งสองข้างเข้าหากัน โดยให้เล็บทั้งสองมือชนกัน

           ถูเล็บมือซ้ายกับเล็บมือขวาเร็ว ๆ

          ทำท่านี้วันละหนึ่งครั้ง ๆ ละ 5 นาที

 9. นวดแก้ปวดหลัง

          ลังและกระดูกสันหลังมีส่วนสำคัญต่อระบบสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งรวมเส้นประสาทสำคัญมากมาย ทำให้ร่างกายคนเราจะสมบูรณ์แข็งแรงไม่ได้ หากกระดูกสันหลังไม่เรียงกันอยู่ในแนวปกติ

การนวดกดจุดสะท้อนหลังคือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากความตึงเครียด ดังนี้

           นวดกดจุดสะท้อนกระดูกสันหลังส่วนเซอวิคอล (บริเวณต้นคอ) ซึ่งอยู่บริเวณข้อแรกของนิ้วโป้งมือซ้าย

           นวดกดจุดสะท้อนกระดูกสันหลังส่วนอื่น ๆ ซึ่งอยู่บริเวณข้อแรกของนิ้วโป้งมือขวา

 10. นวดกระตุ้นการย่อยอาหาร

          กระเพาะอาหารมีหน้าที่ย่อยทุกสิ่งทุกอย่างที่ร่างกายกินผ่านปากเข้าไป ซึ่งบ้างก็เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย บ้างก็ทำลายกระเพาะอาหาร และทุกระบบของร่างกาย

          เมื่ออาหารผ่านเข้าปาก การเคี้ยวบดอาหารในปากให้ละเอียดนั้น ช่วยผ่อนแรงกระเพาะอาหารได้อักโข แถมยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย

การนวดกดจุดสะท้อนกระเพาะอาหาร จึงคือการกระตุ้นประสิทธิภาพการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ซึ่งมีท่าดังนี้คือ

           ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลางมือขวา จับบริเวณจุดสะท้อนกระเพาะอาหาร ซึ่งอยู่บริเวณจุดตัดของโคนนิ้วโป้งและนิ้วชี้มือซ้าย

           กดคลึงจุดนั้นด้วยนิ้วโป้ง ขณะที่นิ้วชี้และนิ้วกลางกึ่งประคองกึ่งกดด้านหลังมือเอาไว้

 11. นวดบำรุงหัวใจ

          หัวใจมีหน้าที่นำออกซิเจนผ่านกระแสเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำกลับเข้ามาเติมออกซิเจน โดยกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งนาที

          ปกติกล้ามเนื้อหัวใจมีบทบาทในการทำหน้าที่นี้ ผ่านกริยาการบีบตัว โดยเราสามารถสังเกตได้จากการที่หัวใจเต้นตุบ ตุบ ทุกครั้งที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแล้ว กล้ามเนื้อหัวใจต้องการช่วงเวลาพักนานกว่าจังหวะการบีบตัวเสียอีก

การนวดกดจุดสะท้อนหัวใจ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อหัวใจให้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น วิธีการคือ

           หาตำแหน่งของจุดสะท้อนหัวใจบนมือ นั่นคือ บริเวณกลางฝ่ามือ ใต้นิ้วนางของมือซ้าย

           กดจุดนั้นด้วยนิ้วโป้งซ้าย อีกสี่นิ้วที่เหลือ ประคองหลังมือ และกดจิกหลังมือไว้

 12. นวดแก้อาการเป็นลม

          อาการเป็นลม มีสาเหตุจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้สมองขาดออกซิเจน การนวดมือคือ การช่วยกระตุ้นให้มีเลือดไหลเวียนในสมองอย่างเพียงพอ

นวดกดจุดสะท้อนสมองซึ่งคือส่วนปลายสุดของทุกนิ้ว โดยเฉพาะหัวแม่มือ วิธีการคือ

           เริ่มออกแรงกดปลายสุดของหัวแม่มือซ้ายด้วยหัวแม่มือขวา หมุนวน

           หากพบจุดที่นุ่มมากผิดปกติบนปลายหัวแม่มือ นั่นสะท้อนว่าสมองมีปัญหา ให้กดนวดปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางด้วย เพื่อกระตุ้นสมองให้ควบคุมการทำงานของประสาทส่วนกลาง

          ถ้ายังรู้สึกมึนงงอยู่ ให้กดนวดปลายนิ้วนางและนิ้วก้อยด้วย

 13. นวดกระตุ้นตับ

          ตับมีหน้าที่ขับของเสียและพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สะสมวิตามินบางอย่าง เพื่อร่างกายไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น วิตามินเอ บี ดี และเหล็ก

          ปกติตับจะมีความสามารถในการเยียวยาตัวเองได้ เช่น ถ้าส่วนหนึ่งของตับถูกทำลายไป ตับก็จะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน

การนวดกระตุ้นตับคือ การนวดเพื่อกระตุ้นศักยภาพในการสร้างเซลล์ใหม่ของตับนั่นเอง วิธีคือ

           หาตำแหน่งของจุดสะท้อนตับบนมือ นั่นคือ บริเวณกลางฝ่ามือ ใต้นิ้วนางของมือขวา

           กดจุดนั้นด้วยนิ้วโป้งซ้าย นวดถูไปมา ให้กินพื้นที่บริเวณจุดสะท้อนปอดด้วย

           สลับนวดมือซ้าย เพื่อนวดจุดสะท้อนหัวใจซึ่งอยู่ตำแหน่งเดียวกับตับ

 14. นวดกระตุ้นไต

          ไตมีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด โดยส่งของดีกลับขึ้นไปฟอกต่อที่หัวใจ ส่วนของเสียก็ผสมกับน้ำและขับออกเป็นปัสสาวะ การนวดมือคือการกระตุ้นให้กระบวนการกรอง และขับของเสียมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การนวดกระตุ้นจุดสะท้อนไตมีดังนี้

           หงายมือข้างซ้ายเข้าหาลำตัว

           ใช้นิ้วแม่มือขวากดจุดสะท้อนไต ซึ่งอยู่บริเวณจุดตัดระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้

           ออกแรงกดและหมุนไปรอบ ๆ บริเวณ นานราวสองสามวินาที

           สลับนวดมือขวาด้วยนิ้วโป้งข้างซ้าย

          หากคุณหมอตรวจพบว่า ไตมีความผิดปกติ เราไม่ควรนวดกดจุดสะท้อนไตนานเกินไป

 15. นวดคลายอาการปวดประจำเดือน

          ความทรมานระหว่างวันนั้นของเดือน มักส่งผลต่ออารมณ์ของหญิงสาวหลายคน

เราสามารถเยียวยาอาการปวดประจำเดือนได้ด้วยการนวดมือดังนี้

           ยกมือขวาขึ้นตั้งขนานกับลำตัว บิดข้อมือไปทางด้านหลัง

           ยกมือซ้ายจับข้อมือขวา กดบริเวณข้อมือขวาให้แน่นด้วยนิ้วกลางและนิ้วนาง ทิ้งไว้ 3-15 นาที จึงค่อย ๆ คลายออก

           ทำสลับข้าง



ขอขอบคุณข้อมูลจาก ชีวจิต

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

อวัยวะภายใน

อวัยวะภายใน
ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน  ได้แบ่งอวัยวะภายในเป็น  อวัยวะภายใน ทั้ง 5  และอวัยวะกลวงทั้ง 6
อวัยวะภายในทั้ง 5 ประกอบด้วย

หัวใจ

หน้าที่

  • ควบคุมการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย  ชีพจรของมนุษย์เต้น และสูบฉีดโลหิต โดยอาศัยพลังแห่งหัวใจ ซินชี่”  เลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจเรียกว่า เลือดแห่งหัวใจ ซินเสวี่ยะ
  • กำหนดความคิด  เลือดดีสมองแจ่มใส  เลือดพร่องสมองอ่อนเพลีย
  • สัมพันธ์กับลำไส้เล็ก  โดยมีส้นลมปราณเชื่อมถึงกัน  หากเลือด หรือพลังแห่งหัวใจมีปัญหา  ย่อมส่งผลกระทบถึงลำไส้เล็กด้วย

การตรวจดูอาการ

  • สีหน้า  ขาวซีด
  • ลิ้น  ชมพูอ่อน หรือซีด
  • ชีพจรเต้นเบา, จม, ไม่สม่ำเสมอ 
  • ใจสั่น  เหงื่อออก  หายใจขัด
  • นอนไม่หลับ  ฝันมาก  ตกใจง่ายขี้หลงขี้ลืม  หรืออาจกระวนกระวาย  หลับไม่สนิท
    ปอด

    หน้าที่

  • หายใจ  สัมพันธ์กับจมูก  พลังปอดมีทิศทางลงสู่เบื้องล่าง  มีไตเป็นตัวรับพลังจากปอด
  • ลำเลียงของเหลวในร่างกาย 
  • การลำเลียงเลือดมีหัวใจเป็นตัวสูบฉีด  โดยอาศัยพลังปอดช่วยเหลือ 
  • ของเหลวอื่นที่เข้าสู่ร่างกาย  ม้ามเป็นตัวลำเลียง  โดยอาศัยพลังปอดช่วยกระจายไปทั่วร่างกาย
  • การขับถ่ายออกทางลำไส้เล็ก  ไต  กระเพาะปัสสาวะ  หรือแม้กระทั่งทางผิวหนัง ล้วนแต่ต้องสัมพันธ์กับปอดทั้งสิ้น
  • สัมพันธ์กับผิวหนัง และขน  กำหนดการเปิดปิดรูขุมขน, การหลั่งเหงื่อ  และต่อต้านปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดโรค
  • สัมพันธ์กับลำไส้ใหญ่  มีเส้นลมปราณเชื่อมระหว่างกัน  หากลำไส้ใหญ่ผิดปกติ  พลังปอดจะถูกขวางลงเบื้องล่างไม่ได้ทำให้เกิดอาการหอบหืด

การตรวจดูอาการ

  • อาการไอ  ไม่ว่าจะมีเสมหะหรือไม่  เป็นอาการของปอด  แต่เสมหะเกิดจากม้าม
  • อาการของจมูก  เช่น  คัดจมูก, น้ำมูกไหล, เลือดกำเดาไหล
  • คอ  คันคอ  เสียงแหบแห้ง
  • หน้า, หนังตา, แขน, ขา บวม
    ม้าม

    หน้าที่

  • ลำเลียงน้ำ และสารจำเป็น
-         ลำเลียงสารจำเป็นที่ได้จากการย่อยอาหารของกระเพาะอาหารสู่ปอด
-         ปรับดุลการใช้ และขับถ่ายของเหลว
  • ควบคุมการไหลเวียนของเลือด
  • กำหนดพลัง จงชี่  ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ  คือ
-         ลำเลียง และกระจายสารจำเป็น และของเหลวไปยังปอดก่อนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
-         ยึดเหนี่ยวอวัยวะภายในให้อยู่ในตำแหน่ง
  • สัมพันธ์กับกระเพาะอาหาร  มีเส้นลมปราณเชื่อมระหว่างกันนอกเหนือจากการทำงานร่วมกัน

การตรวจดูอาการ

  • อาหารไม่ย่อย  เบื่ออาหาร  ท้องอืด  ท้องเสีย  ปวดท้อง
  • ขาดอาหาร  ผอม  อ่อนเพลียริมฝีปากซีด
  • ท้องมาน  บวม  ลิ้นเป็นฝ้าหนา
  • ดีซ่าน  ส่วนใหญ่มักเกิดจากกรเพาะอาหาร และม้ามร้อน, ชื้นเกินไป
  • ปัสสาวะเป็นเลือด  ตกเลือด  หรือประจำเดือนมามาก
  • มดลูกหย่อน  ทวารหนักโผล่
  • อ่อนเพลีย  ไม่มีแรง  หน้า และริมฝีปากซีด  กลัวหนาว  ชีพจรอ่อน

    ตับ

    หน้าที่

    ·        สะสมและปรับปริมาณเลือด
    ·        กระตุ้นการย่อยและการลำเลียง
    ·        สัมพันธ์กับถุงน้ำดี

    การตรวจดูอาการ

    ·        การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์  โกรธง่าย  ผันผวน
    ·        ปวดเสียว หรือแน่นสีข้าง  หรือท้องน้อย
    ·        ตาแห้ง  มองไม่ชัด  ตาบอดกลางคืน  ตาบวมแดง  ตาสู้แสงไม่ได้
    ·        หน้ามืด  วิงเวียน  ตาลาย  ลิ้นสั่น  แขนขาชา  กล้ามเนื้อกระตุก  ตะคริว
    ·        จุกแน่นใต้ลิ้นปี่จนเรอ
    ไต

    หน้าที่

    ·        เก็บสารจำเป็นของชีวิต  ซึ่งมีผลต่อสารจำเป็นของอวัยวะอื่นๆ
    o       ระบบการเจริญเติบโต และสืบพันธุ์
            การเจริญ และการเสื่อมของอวัยวะเพศ
            การเจริญเติบโตของกระดูก และฟัน
            การบำรุงเส้นผม และขน
    o       ระบบประสาท
            สมอง
            หู
    o       พละกำลังของร่างกายและสมอง
    ·        กำหนดน้ำ
    o       สร้างน้ำปัสสาวะ
    o       ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
    o       ช่วยม้ามในการลำเลียงของเหลวในร่างกาย
    ·        สัมพันธ์กับการหายใจของปอด
    ·        ระบบสืบพันธุ์ และปรับดุลน้ำในร่างกาย

    การตรวจดูอาการ

    ·        บวม
    ·        อาการผิดปกติทางอุจจาระ หรือปัสสาวะ
    ·        ความผิดปกติของการสืบพันธุ์  เป็นหมัน  กามตายด้าน  หลั่งเร็ว  หลั่งเอง
    ·        ปวดหลัง หรือเอว  บริเวณไต
    ·        เฉื่อยชา  เซื่องซึม  ขี้ลืม  อ่อนเพลีย
    ·        ร้อนอุ้งมืออุ้งเท้า  หงุดหงิด  คอแห้ง

    อวัยวะกลวงทั้ง 6 ประกอบด้วย

    กระเพาะอาหาร

    หน้าที่

  • รับและย่อยอาหารจนได้เป็นสารจำเป็น
  • สัมพันธ์กับม้ามซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็น และของเหลวไปยังปอด

การตรวจดูอาการ

  • กระเพาะคราก
  • สะอึก
  • หายใจเสียงดัง
  • อาเจียน
  • ท้องผูก

    ถุงน้ำดี

    หน้าที่

  • เก็บน้ำดี  ทำหน้าที่ร่วมกับตับในการหลั่งน้ำดี
  • กำหนดการตัดสินใจ  หมายถึงความสามารถของจิตใต้สำนึกในการตัดสินใจ

การตรวจดูอาการ

  • ดีซ่าน  ผิวเหลือง  ตาเหลือง
  • การรับรสในปากเลวลง
  • ปวดสีข้าง
  • อาเจียนเป็นน้ำดี
  • โกรธง่าย
  • หลับไม่สนิท

    ลำไส้ใหญ่

    หน้าที่

  • รับสิ่งที่ผ่านการย่อยจากลำไส้เล็กเพื่อดูดซึมน้ำ
  • ขับถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย

การตรวจดูอาการ

  • ท้องร่วง  หรือท้องผูก
  • อุจจาระเป็นเลือด
    ลำไส้เล็ก

    หน้าที่

  • รับอาหารที่ผ่านการย่อยจากกระเพาะอาหาร  แล้วดูดซึมส่วนที่ใสส่งต่อไปยังม้าม

การตรวจดูอาการ

  • ปัสสาวะขัด
  • ท้องเสีย
  • เลือดออกในอุจจาระ หรือปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะ

    หน้าที่

  • ขับถ่ายปัสสาวะ

การตรวจดูอาการ

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่  ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้
  • ถ่ายปัสสาวะมาก 
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
    ซานเจียว

    หน้าที่

  • เป็นทางผ่านของของเหลว