วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

อวัยวะภายใน

อวัยวะภายใน
ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน  ได้แบ่งอวัยวะภายในเป็น  อวัยวะภายใน ทั้ง 5  และอวัยวะกลวงทั้ง 6
อวัยวะภายในทั้ง 5 ประกอบด้วย

หัวใจ

หน้าที่

  • ควบคุมการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย  ชีพจรของมนุษย์เต้น และสูบฉีดโลหิต โดยอาศัยพลังแห่งหัวใจ ซินชี่”  เลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจเรียกว่า เลือดแห่งหัวใจ ซินเสวี่ยะ
  • กำหนดความคิด  เลือดดีสมองแจ่มใส  เลือดพร่องสมองอ่อนเพลีย
  • สัมพันธ์กับลำไส้เล็ก  โดยมีส้นลมปราณเชื่อมถึงกัน  หากเลือด หรือพลังแห่งหัวใจมีปัญหา  ย่อมส่งผลกระทบถึงลำไส้เล็กด้วย

การตรวจดูอาการ

  • สีหน้า  ขาวซีด
  • ลิ้น  ชมพูอ่อน หรือซีด
  • ชีพจรเต้นเบา, จม, ไม่สม่ำเสมอ 
  • ใจสั่น  เหงื่อออก  หายใจขัด
  • นอนไม่หลับ  ฝันมาก  ตกใจง่ายขี้หลงขี้ลืม  หรืออาจกระวนกระวาย  หลับไม่สนิท
    ปอด

    หน้าที่

  • หายใจ  สัมพันธ์กับจมูก  พลังปอดมีทิศทางลงสู่เบื้องล่าง  มีไตเป็นตัวรับพลังจากปอด
  • ลำเลียงของเหลวในร่างกาย 
  • การลำเลียงเลือดมีหัวใจเป็นตัวสูบฉีด  โดยอาศัยพลังปอดช่วยเหลือ 
  • ของเหลวอื่นที่เข้าสู่ร่างกาย  ม้ามเป็นตัวลำเลียง  โดยอาศัยพลังปอดช่วยกระจายไปทั่วร่างกาย
  • การขับถ่ายออกทางลำไส้เล็ก  ไต  กระเพาะปัสสาวะ  หรือแม้กระทั่งทางผิวหนัง ล้วนแต่ต้องสัมพันธ์กับปอดทั้งสิ้น
  • สัมพันธ์กับผิวหนัง และขน  กำหนดการเปิดปิดรูขุมขน, การหลั่งเหงื่อ  และต่อต้านปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดโรค
  • สัมพันธ์กับลำไส้ใหญ่  มีเส้นลมปราณเชื่อมระหว่างกัน  หากลำไส้ใหญ่ผิดปกติ  พลังปอดจะถูกขวางลงเบื้องล่างไม่ได้ทำให้เกิดอาการหอบหืด

การตรวจดูอาการ

  • อาการไอ  ไม่ว่าจะมีเสมหะหรือไม่  เป็นอาการของปอด  แต่เสมหะเกิดจากม้าม
  • อาการของจมูก  เช่น  คัดจมูก, น้ำมูกไหล, เลือดกำเดาไหล
  • คอ  คันคอ  เสียงแหบแห้ง
  • หน้า, หนังตา, แขน, ขา บวม
    ม้าม

    หน้าที่

  • ลำเลียงน้ำ และสารจำเป็น
-         ลำเลียงสารจำเป็นที่ได้จากการย่อยอาหารของกระเพาะอาหารสู่ปอด
-         ปรับดุลการใช้ และขับถ่ายของเหลว
  • ควบคุมการไหลเวียนของเลือด
  • กำหนดพลัง จงชี่  ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ  คือ
-         ลำเลียง และกระจายสารจำเป็น และของเหลวไปยังปอดก่อนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
-         ยึดเหนี่ยวอวัยวะภายในให้อยู่ในตำแหน่ง
  • สัมพันธ์กับกระเพาะอาหาร  มีเส้นลมปราณเชื่อมระหว่างกันนอกเหนือจากการทำงานร่วมกัน

การตรวจดูอาการ

  • อาหารไม่ย่อย  เบื่ออาหาร  ท้องอืด  ท้องเสีย  ปวดท้อง
  • ขาดอาหาร  ผอม  อ่อนเพลียริมฝีปากซีด
  • ท้องมาน  บวม  ลิ้นเป็นฝ้าหนา
  • ดีซ่าน  ส่วนใหญ่มักเกิดจากกรเพาะอาหาร และม้ามร้อน, ชื้นเกินไป
  • ปัสสาวะเป็นเลือด  ตกเลือด  หรือประจำเดือนมามาก
  • มดลูกหย่อน  ทวารหนักโผล่
  • อ่อนเพลีย  ไม่มีแรง  หน้า และริมฝีปากซีด  กลัวหนาว  ชีพจรอ่อน

    ตับ

    หน้าที่

    ·        สะสมและปรับปริมาณเลือด
    ·        กระตุ้นการย่อยและการลำเลียง
    ·        สัมพันธ์กับถุงน้ำดี

    การตรวจดูอาการ

    ·        การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์  โกรธง่าย  ผันผวน
    ·        ปวดเสียว หรือแน่นสีข้าง  หรือท้องน้อย
    ·        ตาแห้ง  มองไม่ชัด  ตาบอดกลางคืน  ตาบวมแดง  ตาสู้แสงไม่ได้
    ·        หน้ามืด  วิงเวียน  ตาลาย  ลิ้นสั่น  แขนขาชา  กล้ามเนื้อกระตุก  ตะคริว
    ·        จุกแน่นใต้ลิ้นปี่จนเรอ
    ไต

    หน้าที่

    ·        เก็บสารจำเป็นของชีวิต  ซึ่งมีผลต่อสารจำเป็นของอวัยวะอื่นๆ
    o       ระบบการเจริญเติบโต และสืบพันธุ์
            การเจริญ และการเสื่อมของอวัยวะเพศ
            การเจริญเติบโตของกระดูก และฟัน
            การบำรุงเส้นผม และขน
    o       ระบบประสาท
            สมอง
            หู
    o       พละกำลังของร่างกายและสมอง
    ·        กำหนดน้ำ
    o       สร้างน้ำปัสสาวะ
    o       ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
    o       ช่วยม้ามในการลำเลียงของเหลวในร่างกาย
    ·        สัมพันธ์กับการหายใจของปอด
    ·        ระบบสืบพันธุ์ และปรับดุลน้ำในร่างกาย

    การตรวจดูอาการ

    ·        บวม
    ·        อาการผิดปกติทางอุจจาระ หรือปัสสาวะ
    ·        ความผิดปกติของการสืบพันธุ์  เป็นหมัน  กามตายด้าน  หลั่งเร็ว  หลั่งเอง
    ·        ปวดหลัง หรือเอว  บริเวณไต
    ·        เฉื่อยชา  เซื่องซึม  ขี้ลืม  อ่อนเพลีย
    ·        ร้อนอุ้งมืออุ้งเท้า  หงุดหงิด  คอแห้ง

    อวัยวะกลวงทั้ง 6 ประกอบด้วย

    กระเพาะอาหาร

    หน้าที่

  • รับและย่อยอาหารจนได้เป็นสารจำเป็น
  • สัมพันธ์กับม้ามซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็น และของเหลวไปยังปอด

การตรวจดูอาการ

  • กระเพาะคราก
  • สะอึก
  • หายใจเสียงดัง
  • อาเจียน
  • ท้องผูก

    ถุงน้ำดี

    หน้าที่

  • เก็บน้ำดี  ทำหน้าที่ร่วมกับตับในการหลั่งน้ำดี
  • กำหนดการตัดสินใจ  หมายถึงความสามารถของจิตใต้สำนึกในการตัดสินใจ

การตรวจดูอาการ

  • ดีซ่าน  ผิวเหลือง  ตาเหลือง
  • การรับรสในปากเลวลง
  • ปวดสีข้าง
  • อาเจียนเป็นน้ำดี
  • โกรธง่าย
  • หลับไม่สนิท

    ลำไส้ใหญ่

    หน้าที่

  • รับสิ่งที่ผ่านการย่อยจากลำไส้เล็กเพื่อดูดซึมน้ำ
  • ขับถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย

การตรวจดูอาการ

  • ท้องร่วง  หรือท้องผูก
  • อุจจาระเป็นเลือด
    ลำไส้เล็ก

    หน้าที่

  • รับอาหารที่ผ่านการย่อยจากกระเพาะอาหาร  แล้วดูดซึมส่วนที่ใสส่งต่อไปยังม้าม

การตรวจดูอาการ

  • ปัสสาวะขัด
  • ท้องเสีย
  • เลือดออกในอุจจาระ หรือปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะ

    หน้าที่

  • ขับถ่ายปัสสาวะ

การตรวจดูอาการ

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่  ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้
  • ถ่ายปัสสาวะมาก 
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
    ซานเจียว

    หน้าที่

  • เป็นทางผ่านของของเหลว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น