ปัตฆาต หมายถึง กล้ามเนื้อ
ปลาย หมายถึง ปลาย, สุด จุดสิ้นสุด
ดังนั้น ลมปลายปัตฆาต คือ การเกิดภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด
ปลาย หมายถึง ปลาย, สุด จุดสิ้นสุด
ดังนั้น ลมปลายปัตฆาต คือ การเกิดภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด
ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่เป็นแข็งเป็นก้อน, ลำ, ดาน มีอาการปวด บวม
มักจะเป็นกับกล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, เยื่อหุ้มกระดูกหัวต่อกระดูก
แต่ไม่เกิดกับกระดูก หากเราพบว่า ลมปลายปัตฆาต มีความร้อนด้วย
เราจะเรียกว่า “ลำบองแทรกลมปลายปัตฆาต”
ลมปลายปัตฆาตเกิดขึ้น เมื่อมีความเครียดของกล้ามเนื้อ
ทำให้ไปบีบหลอดเลือดแดงบริเวณนั้นให้เล็กลงปริมาณเลือดมาได้น้อย
ทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือด เกิดการปวดเป็นก้อนเล็ก ๆ เหมือนกลิ้งได้
เช่น ตามบ่า หลัง
“ทางกายภาพ
อธิบายว่าร่างกายและกล้ามเนื้อเกิดภาวะเครียดและหลั่งสารทุกข์ออกมา
ซึ่งก็คือแคลเซียมอิออน ออกมาเกาะตามกล้ามเนื้อและรวมตัวกันเป็นก้อนโต”
การนวดช่วยสลายก้อนเล่านี้ได้ เพราะเลือดไหลเวียนและดูดซับกลับไปได้ดี
อาหาร ก็เป็นสาเหตุให้มีการตกตะกอนของแคลเซียมอิออนได้ เช่น หน่อไม้ มีสารผลึกลูกเข็ม, เหล้า, เบียร์ เกิดภาวะเลือดเป็นกรดกัดข้อต่อ, เครื่องในสัตว์มีกรดยูริกสูงตกเป็นผลึกยูเรีย,
การนวดช่วยสลายก้อนเล่านี้ได้ เพราะเลือดไหลเวียนและดูดซับกลับไปได้ดี
อาหาร ก็เป็นสาเหตุให้มีการตกตะกอนของแคลเซียมอิออนได้ เช่น หน่อไม้ มีสารผลึกลูกเข็ม, เหล้า, เบียร์ เกิดภาวะเลือดเป็นกรดกัดข้อต่อ, เครื่องในสัตว์มีกรดยูริกสูงตกเป็นผลึกยูเรีย,
ยาแก้ปวดทำให้ระงับอาการปวด, ข้าวเหนียว
ทำให้เลือดตกตะกอน,
บางคนแพ้ผักโตเร็ว เช่น ถั่วงอก, ตำลึง, กระถิน
หรือบางคนแพ้เนื้อสัตว์แช่แข็ง
ลมปลายปัตฆาตนั้นเกิดกับกล้ามเนื้อลายเท่านั้นพบได้ทั้งตัว
ลมปลายปัตฆาตนั้นเกิดกับกล้ามเนื้อลายเท่านั้นพบได้ทั้งตัว
ลมปลายปัตฆาตที่พบบ่อยได้แก่
1) ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1,3 หลัง
2) ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4,5 หลัง
3) ลมปลายปัตฆาตบ่าลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1 หลัง
1) ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1,3 หลัง
2) ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4,5 หลัง
3) ลมปลายปัตฆาตบ่าลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1 หลัง
สาเหตุ
เกิดจากกล้ามเนื้อเครียดแข็ง เกร็งเป็นก้อน ลำ
กดทับเส้นประสาท
เกิดได้จากความเครียด, อุบัติเหตุ ความเสื่อมของร่างกาย,
การใช้งานของกล้ามเนื้อเกินกำลัง
อาการ มีการปวด, เมื่อยหลังช่วงล่าง, ล้า, ชาที่ก้นย้อย, ต้นขา, หัวเข่าไม่มีกำลัง (เข่าทรุด)
อาการ มีการปวด, เมื่อยหลังช่วงล่าง, ล้า, ชาที่ก้นย้อย, ต้นขา, หัวเข่าไม่มีกำลัง (เข่าทรุด)
วิธีตรวจ 1) วัดส้นเท้า ข้างที่เป็นจะสั้น
2) งอพับขาเป็นเลข 4 กดลงข้างที่เป็นจะต้านมือ
3) ตรวจบริเวณหลังช่วงเอว (สัญญาณ 1,2,3) กดดูจุดเจ็บ (ส.1 จะเจ็บ) ดูความแข็งแกร็ง (ส.1), ดูแนวกระดูกว่าตรงหรือคดผิดรูปหรือไม่
* สัญญาณ 1 หลัง ตรงกับกระดูกเอวข้อที่ 5 (L5) (ในแผนปัจจุบันเส้นประสาทจาก L5 จะไปจึงน่องและหลังเท้า)
สูตรการรักษา ใช้สูตรกลาง
1) นวดพื้นฐานขาข้างที่เป็น เปิดประตูลม
2) นวดสัญญาณหลัง 1,2,3 เน้น 1 เป็นพิเศษ คือกดนิ่งนาน คาบใหญ่ 30 วินาที
3) นวดขาด้านนอกสัญญาณ 1,2,3,4,5 เน้น 3 เป็นพิเศษ
4) นวดขาด้านในสัญญาณ 1,2,3,4,5 เน้น 2 เป็นพิเศษ
5) นวดช้อนกระดูกสันหลังข้างที่เป็น
คำแนะนำ 1) ประคบความร้อนชื้นที่หลัง, สะโพก, ขาด้านใน
2) ท่าบริหาร 4 ท่ามี
- ยืนเขย่งปลายเท้า
- นั่งยอง ๆ 90 องศา
- นอนยกศีรษะเกร็งกล้ามเนื้อ
3) หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเกิดโรค
4) พักผ่อน (นอน) ให้เต็มที่
5) นวดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
ขั้นตอนการนวดรักษา ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1 หลัง
1. วัดชีพจร (ข้อมือ)
2.วัดส้นเท้า – ข้างที่เป็นจะสั้น
3.งอพับขาเป็นเลข 4 กดเข่า ข้างที่เป็นจะต้านมือ (ทำทั้ง 2 ข้างเพื่อเปรียบเทียบกัน)
4.ตรวจสันหลังดูสภาพทั่วไป ตรง / คด, หาจุดเจ็บ, แข็ง-เกร็ง, ดูอุณหภูมิร้อน/เย็น
ขั้นตอนการรักษา
นอนหงาย 1. นวดพื้นฐานขาข้างที่เป็น, คลายหลังเท้า, เปิดประตูลม
นอนตะแคง 2. นวดสัญญาณหลัง 1,2,3 เน้น 1 3-5 รอบ รอบสุดท้ายนวด ส.3,2,1
3. นวดสัญญาณขาด้านนอกขาที่เป็น ส.1,2,3 คลาย, ส.4, ส.5 1 รอบ เน้นสัญญาณ 3
นวดสัญญาณขาด้านนอก 1,2,3 คลายกล้ามเนื้อต้นขา 3 รอบ
นวดสัญญาณขาด้านนอก 1,2,3 คลายกล้ามเนื้อต้นขา 4,5 1 รอบ เน้นสัญญาณ 3
พลิกตะแคง 4. นวดขาด้านใน สัญญาณ 1,2 ใช้ส้นมือ 1,2,3 นิ้วคู่, ส.4, พื้นฐานขาท่อนล่าง, สัญญาณ 5 นวด 1-2 รอบ
5. นวดสัญญาณหลัง (ข้างดี) 1,2,3 2 รอบ รอบสุดท้าย ส.3,2,1
6. นวดช้อนกระดูกสันหลังข้างที่เป็น (ข้อนิ้วเบียดกระดูก) หน่วง,เน้น,นิ่ง ตรง ๆ ช้อนขึ้นเล็กน้อย กดสัญญาณ 1,2,3 3 รอบ นวด 3,2,1 1 รอบ (นิ้วไหนก็ได้)
7. นวดสัญญาณขาด้านใน 1,2 ใช้ส้นมือ เน้น 2, 1,2,3 ใช้นิ้วคู่ เน้น 2, ส.4, พื้นฐานขาท่อนล่าง, สัญญาณ 5 1 รอบ
นวดสัญญาณขาด้านใน 1,2 ใช้ส้นมือ เน้น 2, 1,2 ใช้นิ้วคู่ เน้น 2 5 รอบ
นวดสัญญาณขาด้านใน 1,2 ใช้ส้นมือ เน้น 2 1,2,3 ใช้นิ้วคู่ เน้น 2,4, พื้นฐานขาท่อนล่าง, สัญญาณ 5 1 รอบ
นอนหงาย 1. นวดพื้นฐานขาข้างที่เป็น, คลายหลังเท้า, เปิดประตูลม
นอนตะแคง 2. นวดสัญญาณหลัง 1,2,3 เน้น 1 3-5 รอบ รอบสุดท้ายนวด ส.3,2,1
3. นวดสัญญาณขาด้านนอกขาที่เป็น ส.1,2,3 คลาย, ส.4, ส.5 1 รอบ เน้นสัญญาณ 3
นวดสัญญาณขาด้านนอก 1,2,3 คลายกล้ามเนื้อต้นขา 3 รอบ
นวดสัญญาณขาด้านนอก 1,2,3 คลายกล้ามเนื้อต้นขา 4,5 1 รอบ เน้นสัญญาณ 3
พลิกตะแคง 4. นวดขาด้านใน สัญญาณ 1,2 ใช้ส้นมือ 1,2,3 นิ้วคู่, ส.4, พื้นฐานขาท่อนล่าง, สัญญาณ 5 นวด 1-2 รอบ
5. นวดสัญญาณหลัง (ข้างดี) 1,2,3 2 รอบ รอบสุดท้าย ส.3,2,1
6. นวดช้อนกระดูกสันหลังข้างที่เป็น (ข้อนิ้วเบียดกระดูก) หน่วง,เน้น,นิ่ง ตรง ๆ ช้อนขึ้นเล็กน้อย กดสัญญาณ 1,2,3 3 รอบ นวด 3,2,1 1 รอบ (นิ้วไหนก็ได้)
7. นวดสัญญาณขาด้านใน 1,2 ใช้ส้นมือ เน้น 2, 1,2,3 ใช้นิ้วคู่ เน้น 2, ส.4, พื้นฐานขาท่อนล่าง, สัญญาณ 5 1 รอบ
นวดสัญญาณขาด้านใน 1,2 ใช้ส้นมือ เน้น 2, 1,2 ใช้นิ้วคู่ เน้น 2 5 รอบ
นวดสัญญาณขาด้านใน 1,2 ใช้ส้นมือ เน้น 2 1,2,3 ใช้นิ้วคู่ เน้น 2,4, พื้นฐานขาท่อนล่าง, สัญญาณ 5 1 รอบ
ตรวจหลังการรักษา
1) วัดส้นเท้า (จะยาวขึ้น)
2) พับขางอเข่าเป็นเลข 4 (ไม่ต้านมือ)
3) ตรวจบริเวณหลัง ตรวจจุดเจ็บ,เกร็ง
คำแนะนำ
1) ท่ากายบริหาร 4 ท่า
2) งดอาหารแสลง
1) วัดส้นเท้า (จะยาวขึ้น)
2) พับขางอเข่าเป็นเลข 4 (ไม่ต้านมือ)
3) ตรวจบริเวณหลัง ตรวจจุดเจ็บ,เกร็ง
คำแนะนำ
1) ท่ากายบริหาร 4 ท่า
2) งดอาหารแสลง
ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 3 หลัง
มีอาการปวดบั้นเอว เหมือนลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1 หลัง แต่มีอาการร้าว, ชา ลงปลีน่อง, ฝ่าเท้า, นิ้วเท้า โดยเฉพาะนิ้วโป้งจะไม่มีกำลัง
ผลที่ได้จาการตรวจที่แตกต่างจากสัญญาญ 1 หลัง คือ
1) วัดส้นเท้า ข้างที่เป็นจะยาว
2) งอขาพับเข่าเป็นเลข 4 กดเข่าจะไม่ต้านมือ
3) คลำหาจุดเจ็บ แข็งแกร็ง บริเวณหลังจะพบว่าอยู่บริเวณสัญญาณ 3 หลัง
ขั้น ตอนการรักษา เหมือนกับการรักษาลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1 หลังทุกอย่าง มีข้อแตกต่างกันที่นวดจุดสัญญาณ 5 ขาด้านนอกแล้ว นวดต่อไล่เส้นไปถึงตาตุ่ม เพื่อขับลมออกนิ้วเท้าและเปลี่ยนจุดเน้นสัญญาณ นิ่งนาน เป็นที่หลัง เน้นสัญญาณ 3, ขาด้านนอกเน้นสัญญาณ 2, ขาด้านในสัญญาณ 1 (3,2,1)
มีอาการปวดบั้นเอว เหมือนลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1 หลัง แต่มีอาการร้าว, ชา ลงปลีน่อง, ฝ่าเท้า, นิ้วเท้า โดยเฉพาะนิ้วโป้งจะไม่มีกำลัง
ผลที่ได้จาการตรวจที่แตกต่างจากสัญญาญ 1 หลัง คือ
1) วัดส้นเท้า ข้างที่เป็นจะยาว
2) งอขาพับเข่าเป็นเลข 4 กดเข่าจะไม่ต้านมือ
3) คลำหาจุดเจ็บ แข็งแกร็ง บริเวณหลังจะพบว่าอยู่บริเวณสัญญาณ 3 หลัง
ขั้น ตอนการรักษา เหมือนกับการรักษาลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 1 หลังทุกอย่าง มีข้อแตกต่างกันที่นวดจุดสัญญาณ 5 ขาด้านนอกแล้ว นวดต่อไล่เส้นไปถึงตาตุ่ม เพื่อขับลมออกนิ้วเท้าและเปลี่ยนจุดเน้นสัญญาณ นิ่งนาน เป็นที่หลัง เน้นสัญญาณ 3, ขาด้านนอกเน้นสัญญาณ 2, ขาด้านในสัญญาณ 1 (3,2,1)
ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4,5 หลัง
กลุ่มที่มักมีปัญหาสัญญาณ 4,5 หลังได้แก่ อาชีพที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน เช่น เสมียนพนักงานบัญชี, สถาปนิก, ช่างเขียนแบบ, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ช่วงอายุที่พบมากคือวัยทำงานขึ้นไป
กลุ่มที่มักมีปัญหาสัญญาณ 4,5 หลังได้แก่ อาชีพที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน เช่น เสมียนพนักงานบัญชี, สถาปนิก, ช่างเขียนแบบ, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ช่วงอายุที่พบมากคือวัยทำงานขึ้นไป
สาเหตุของการเกิดโรค
1)สาเหตุทั่วไป ได้แก่ ความเครียด, การทรงตัว,
1)สาเหตุทั่วไป ได้แก่ ความเครียด, การทรงตัว,
ท่าทางการทำงาน, อุปนิสัยการนอนหมอนสูงเป็นประจำ
2)อุบัติเหตุ-มีการกระทบกระแทกบริเวณต้นคอ
3)ความเสื่อมของร่างกาย-กระดูกต้นคอผิดรูป, การผิดปกติของหมอนรองกระดูกต้นคอ,
2)อุบัติเหตุ-มีการกระทบกระแทกบริเวณต้นคอ
3)ความเสื่อมของร่างกาย-กระดูกต้นคอผิดรูป, การผิดปกติของหมอนรองกระดูกต้นคอ,
กระดูกงอกบริเวณกระดูกต้นคอ C6 C7
และ C7 T1 เนื่องจากมีหินปูนมาจับเกาะ
อาการของโรค
สัญญาณ 5 หลัง อาการทั่วไป - ปวดกล้ามเนื้อบ่าในบางราย ปวดร้าวบริเวณขอบด้านในของสะบักข้างเดียวกัน มึนงงศีรษะ, ปวดกระบอกตา, ตามองเห็นไม่ชัด, มีความรู้สึกเจ็บตามหนังศีรษะ ขี้ลืมง่าย
อาการเฉพาะ - ปวดหลังและด้านข้างของคอ ร้าวขึ้นหู ขมับ กระบอกตา
- ปวดร้าวไปที่บริเวณกลางศีรษะหรือปวดร้าวจากท้ายทอยไปทั่วศีรษะออกตา
สัญญาณ 4 หลัง อาการทั่วไป- ชา ปวด เสียด บริเวณบ่า ท้ายสะบัก ต้นแขน ชาปลายนิ้วนางและนิ้วก้อย
อาการเฉพาะ - คอแข็ง, ปวดบริเวณต้นคอร้าวลงสะบักด้านใน, ด้านหลังของหัวไหล่
- ปวดร้าวลงไปถึงแขนท่อนล่างด้านนอกไปจนถึงบริเวณหัวแม่มือและนิ้วชี้
- อาการชาทางด้านในของแขนจนถึงนิ้วก้อย
- บางรายมีอาการบวมบริเวณนิ้วมือและหลังมือ
การตรวจ 1) ก้มหน้าคางชิดอก
2) เงยหน้ามองเพดาน (ถ้าอายุไม่เกิน 50 ปี ต้องเงยหน้าขึ้นได้สบาย) ดูโหนกแก้มข้างที่เป็นว่าสูงหรือต่ำ
- ถ้าโหนกแก้มข้างที่เป็นสูง แสดงว่ามีหินปูนมาเกาะ (เวลานวดให้เน้นสัญญาณ 4,5 บน)
- ถ้าโหนกแก้มข้างที่เป็นต่ำแสดงว่ามีการทรุดตัวของหมอนรองกระดูก (เวลานวดให้เน้นสัญญาณ 4,5 ล่าง)
3) เอียงหูชิดไหล่ - ข้างที่เป็นจะไม่ได้องศา บางรายอาจมีอาการเจ็บปวด ร้าว ร่วมด้วย
4) หันศีรษะไปทางซ้าย + ขวา - ข้างที่เป็นจะไม่ได้องศาหรือหันได้น้อยและมีอาการปวดร้าวกล้ามเนื้อบ่า, คอ, สะบัก หรือชาออกนิ้วโป้งและนิ้วชี้
5) คลำดูกล้ามเนื้อบ่าทั้ง 2 ข้าง
6) ดูความผิดปกติของกระดูกต้นคอ
อาการของโรค
สัญญาณ 5 หลัง อาการทั่วไป - ปวดกล้ามเนื้อบ่าในบางราย ปวดร้าวบริเวณขอบด้านในของสะบักข้างเดียวกัน มึนงงศีรษะ, ปวดกระบอกตา, ตามองเห็นไม่ชัด, มีความรู้สึกเจ็บตามหนังศีรษะ ขี้ลืมง่าย
อาการเฉพาะ - ปวดหลังและด้านข้างของคอ ร้าวขึ้นหู ขมับ กระบอกตา
- ปวดร้าวไปที่บริเวณกลางศีรษะหรือปวดร้าวจากท้ายทอยไปทั่วศีรษะออกตา
สัญญาณ 4 หลัง อาการทั่วไป- ชา ปวด เสียด บริเวณบ่า ท้ายสะบัก ต้นแขน ชาปลายนิ้วนางและนิ้วก้อย
อาการเฉพาะ - คอแข็ง, ปวดบริเวณต้นคอร้าวลงสะบักด้านใน, ด้านหลังของหัวไหล่
- ปวดร้าวลงไปถึงแขนท่อนล่างด้านนอกไปจนถึงบริเวณหัวแม่มือและนิ้วชี้
- อาการชาทางด้านในของแขนจนถึงนิ้วก้อย
- บางรายมีอาการบวมบริเวณนิ้วมือและหลังมือ
การตรวจ 1) ก้มหน้าคางชิดอก
2) เงยหน้ามองเพดาน (ถ้าอายุไม่เกิน 50 ปี ต้องเงยหน้าขึ้นได้สบาย) ดูโหนกแก้มข้างที่เป็นว่าสูงหรือต่ำ
- ถ้าโหนกแก้มข้างที่เป็นสูง แสดงว่ามีหินปูนมาเกาะ (เวลานวดให้เน้นสัญญาณ 4,5 บน)
- ถ้าโหนกแก้มข้างที่เป็นต่ำแสดงว่ามีการทรุดตัวของหมอนรองกระดูก (เวลานวดให้เน้นสัญญาณ 4,5 ล่าง)
3) เอียงหูชิดไหล่ - ข้างที่เป็นจะไม่ได้องศา บางรายอาจมีอาการเจ็บปวด ร้าว ร่วมด้วย
4) หันศีรษะไปทางซ้าย + ขวา - ข้างที่เป็นจะไม่ได้องศาหรือหันได้น้อยและมีอาการปวดร้าวกล้ามเนื้อบ่า, คอ, สะบัก หรือชาออกนิ้วโป้งและนิ้วชี้
5) คลำดูกล้ามเนื้อบ่าทั้ง 2 ข้าง
6) ดูความผิดปกติของกระดูกต้นคอ
สูตรการนวด
1) สูตรเล็ก - 1. นวดพื้นฐานบ่า, บังคับสัญญาณ 4,5 หลัง
- 2. บังคับสัญญาณ 4 หัวไหล่
2) สูตรกลาง - 1. นวดพื้นฐานบ่าบังคับสัญญาณ 4,5 หลัง, บังคับสัญญาณ 4 หัวไหล่
- 2. นวดพื้นฐานหลัง
- 3. พื้นฐานแขนด้านในและด้านนอก เพื่อดึงพิษอักเสบออกแขน
คำแนะนำ 1) ประคบความร้อนชื้น
2) งดอาหารแสลง - ข้าวเหนียว, หน่อไม้, ยาแก้ปวด, เครื่องในสัตว์, เหล้า, เบียร์
3) กายบริหาร - ท่าที่ 1 (ก้ม/เงย) - มือประสานศีรษะก้มหน้าเก็บข้อศอกกดลง
- แหงนหน้ามือประคองช้อนคางดันขึ้น
(ก้ม/เงย สลับกัน 3 ชุด)
- ท่าที่ 2 หันหน้า คางชิดหัวไหล่ - หันหน้าด้านซ้ายใช้มือขวาดันหน้าให้ชิดหัวไหล่สลับกัน 3 ชุด
- ท่าที่ 3 หมุนศีรษะเป็นวงกลมสลับกันซ้าย / ขวา 3 ชุด
- ท่าที่ 4 ดึงมือโหนรถเมล์ 3 จังหวะ ทำสลับกัน 3 ชุด
- ท่าที่ 5 แกว่งแขน โดยชูแขนขึ้นแนบหูทั้งสองข้าง ปล่อยทิ้งแขนให้ผ่านลำตัวไปทางด้านหลัง 30 ครั้ง
4) หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเกิดโรค
5) พักผ่อนให้เพียงพอ
6) ห้ามบิด ดัด สลัดแขนและคอ นวดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
1) สูตรเล็ก - 1. นวดพื้นฐานบ่า, บังคับสัญญาณ 4,5 หลัง
- 2. บังคับสัญญาณ 4 หัวไหล่
2) สูตรกลาง - 1. นวดพื้นฐานบ่าบังคับสัญญาณ 4,5 หลัง, บังคับสัญญาณ 4 หัวไหล่
- 2. นวดพื้นฐานหลัง
- 3. พื้นฐานแขนด้านในและด้านนอก เพื่อดึงพิษอักเสบออกแขน
คำแนะนำ 1) ประคบความร้อนชื้น
2) งดอาหารแสลง - ข้าวเหนียว, หน่อไม้, ยาแก้ปวด, เครื่องในสัตว์, เหล้า, เบียร์
3) กายบริหาร - ท่าที่ 1 (ก้ม/เงย) - มือประสานศีรษะก้มหน้าเก็บข้อศอกกดลง
- แหงนหน้ามือประคองช้อนคางดันขึ้น
(ก้ม/เงย สลับกัน 3 ชุด)
- ท่าที่ 2 หันหน้า คางชิดหัวไหล่ - หันหน้าด้านซ้ายใช้มือขวาดันหน้าให้ชิดหัวไหล่สลับกัน 3 ชุด
- ท่าที่ 3 หมุนศีรษะเป็นวงกลมสลับกันซ้าย / ขวา 3 ชุด
- ท่าที่ 4 ดึงมือโหนรถเมล์ 3 จังหวะ ทำสลับกัน 3 ชุด
- ท่าที่ 5 แกว่งแขน โดยชูแขนขึ้นแนบหูทั้งสองข้าง ปล่อยทิ้งแขนให้ผ่านลำตัวไปทางด้านหลัง 30 ครั้ง
4) หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเกิดโรค
5) พักผ่อนให้เพียงพอ
6) ห้ามบิด ดัด สลัดแขนและคอ นวดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
ขั้นตอนการนวดรักษา * ตรวจจับชีพจรข้อมือ, ตรวจตามอาการของโรค
* ตัวอย่างเป็นลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 สัญญาณ 5 หลัง*
หมายเหตุ ถ้าคนไข้เอียงหูชิดไหล่ไม่ได้ต้องนวดอย่างระมัดระวังเพราะอาจมีกระดูกร้าว, กระดูกเปราะ หรือมีหินปูนเกาะมาก
ท่านั่ง
1) นวดพื้นฐานบ่าข้างที่เป็น (ลมปลายปัตฆาตบ่าชอบความแหลมคมให้ใช้นิ้วกากบาท) การนวด พื้นฐานบ่าให้นวดแนวสันบ่าล่าง, นวด 4 จังหวะ คือ จังหวะที่ 1 ชิดปุ่มกระดูกหัวไหล่, จังหวะ 2 กึ่งกลางบ่า, จังหวะที่ 3 ฐานคอ, จังหวะที่ 4 ชิดกระดูกโค้งคอ (สัญญาณ 5) นวด 50, 70, 90, 90, 90, 90 ปอนด์ ข้างที่เป็น
2) นวดบังคับสัญญาณ 5 บน (กดเบียดเงี่ยงกระดูกต้นคอ) 5 ล่าง, 4 บน, 4 ล่าง 2 รอบ นวดสัญญาณ 4 หักไหล่ 1 ครั้ง ข้างที่เป็น
3) นวดพื้นฐานบ่าข้างไม่เป็น 50, 70, 90, 90, 90, 90 ปอนด์
4) นวดบังคับสัญญาณ 5 บน, 5 ล่าง, 4 บน, 4 ล่าง 2 รอบ นวดสัญญาณ 4 หัวไหล่ 1 ครั้ง ข้างที่ไม่เป็น
5) นวดพื้นฐานบ่าข้างที่เป็น 90, 90, 90, 90, 90 ปอนด์
6) บังคับสัญญาณหลัง 5 บน, 5 ล่าง, 4 บน, 4 ล่าง 2 รอบ นวดสัญญาณ 4 หัวไหล่ 1 ครั้ง ข้างที่เป็น
7) นวดเหมือน ข้อ 5, 6 1-2 รอบแล้วแต่อาการ
นอนตะแคง 8) นวดพื้นฐานหลังข้างที่เป็น 50, 70
นอนหงาย 9) นวดพื้นฐานแขนด้านใน 2 รอบ
10) นวดพื้นฐานแขนด้านนอก 2 รอบ
ที่มา naudthai.wordpress
* ตัวอย่างเป็นลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 สัญญาณ 5 หลัง*
หมายเหตุ ถ้าคนไข้เอียงหูชิดไหล่ไม่ได้ต้องนวดอย่างระมัดระวังเพราะอาจมีกระดูกร้าว, กระดูกเปราะ หรือมีหินปูนเกาะมาก
ท่านั่ง
1) นวดพื้นฐานบ่าข้างที่เป็น (ลมปลายปัตฆาตบ่าชอบความแหลมคมให้ใช้นิ้วกากบาท) การนวด พื้นฐานบ่าให้นวดแนวสันบ่าล่าง, นวด 4 จังหวะ คือ จังหวะที่ 1 ชิดปุ่มกระดูกหัวไหล่, จังหวะ 2 กึ่งกลางบ่า, จังหวะที่ 3 ฐานคอ, จังหวะที่ 4 ชิดกระดูกโค้งคอ (สัญญาณ 5) นวด 50, 70, 90, 90, 90, 90 ปอนด์ ข้างที่เป็น
2) นวดบังคับสัญญาณ 5 บน (กดเบียดเงี่ยงกระดูกต้นคอ) 5 ล่าง, 4 บน, 4 ล่าง 2 รอบ นวดสัญญาณ 4 หักไหล่ 1 ครั้ง ข้างที่เป็น
3) นวดพื้นฐานบ่าข้างไม่เป็น 50, 70, 90, 90, 90, 90 ปอนด์
4) นวดบังคับสัญญาณ 5 บน, 5 ล่าง, 4 บน, 4 ล่าง 2 รอบ นวดสัญญาณ 4 หัวไหล่ 1 ครั้ง ข้างที่ไม่เป็น
5) นวดพื้นฐานบ่าข้างที่เป็น 90, 90, 90, 90, 90 ปอนด์
6) บังคับสัญญาณหลัง 5 บน, 5 ล่าง, 4 บน, 4 ล่าง 2 รอบ นวดสัญญาณ 4 หัวไหล่ 1 ครั้ง ข้างที่เป็น
7) นวดเหมือน ข้อ 5, 6 1-2 รอบแล้วแต่อาการ
นอนตะแคง 8) นวดพื้นฐานหลังข้างที่เป็น 50, 70
นอนหงาย 9) นวดพื้นฐานแขนด้านใน 2 รอบ
10) นวดพื้นฐานแขนด้านนอก 2 รอบ
ที่มา naudthai.wordpress
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น