การนวดพื้นฐานบ่า
| ||||||||||||||||||||
เป็นพื้นฐานที่สู้มือง่าย (มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อง่ายเมื่อเริ่มออกแรงกด) เพราะฉะนั้นการนวดจึงจำเป็นต้องแต่งรสมือ (เมื่อเริ่มกดจะลงน้ำหนักเบาเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรู้ตัว แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักมากขึ้นเป็นขนาดปานกลางและมากตามลำดับ การกดน้ำหนักขึ้นทีละน้อยจะทำให้กล้ามเนื้อสามารถปรับตัวรับน้ำหนักได้โดย ไม่รู้สึกเจ็บมากและไม่เกิดอันตราย) โดยใช้ท่านวด หกสูง-หกกลาง-หกต่ำ และใช้น้ำหนัก ๕๐-๗๐-๙๐ ปอนด์ ตามลำดับ
มีวิธีการนวด ๒ วิธีคือ๑. การนวดพื้นฐานบ่าท่านั่ง ๒. การนวดพื้นฐานบ่าท่านอน
การนวดพื้นฐานบ่าท่านั่ง
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งห้อยขา
ผู้นวด ยืนท่าหกสูง, หกกลาง, หกต่ำ
วิธีการนวด๑. วางนิ้วหัวแม่มือคู่ กดบนแนวกล้ามเนื้อบ่า เริ่มจากชิดร่องข้อต่อกระดูกหัวไหล่ด้านบน (หัวดุมไหล่) กดไหล่ไปจนถึงปุ่มกระดูกต้นคอ (C7) โดยผู้นวดยืนอยู่ในท่าหกสูง (กางขาเสมอไหล่ในระนาบเดียวกัน) ใช้น้ำหนัก ๕๐ ปอนด์ (๑/๒ ของกำลังผู้นวด) ๒. วางนิ้วหัวแม่มือคู่ กดไล่จากชิดปุ่มกระดูกต้นคอย้อนกลับในแนวเดิม โดยผู้นวดยืนในท่าหกกลาง (ขาข้างหนึ่งล้ำไปข้างหน้า เวลากดโน้มตัวไปด้านหน้า งอเข่าหน้า ขาข้างที่อยู่ด้านหลังตึง) ใช้น้ำหนัก ๗๐ ปอนด์ (๓/๔ ของกำลังผู้นวด) ๓. วางนิ้วหัวแม่มือคู่ กดไล่ขึ้นในแนวเดิม (แนวเดียวกับข้อ ๑.) โดยผู้นวดยืนในท่าหกต่ำ (ขาข้างหนึ่งล้ำไปข้างหน้า เวลากดย่อเข่าขาข้างที่อยู่หน้า เปิดปลายเท้าขาข้าที่อยู่ด้านหลัง ขาตึง) ใช้น้ำหนัก ๙๐ ปอนด์ (เต็มกำลังของผู้นวด) ข้อควรระวัง ๑. ไม่ควรกดล้ำกล้ามเนื้อบ่าไปด้านหน้า เพราะบริเวณนั้นเต็มไปด้วย ระบบหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง ถ้ากดอาจทำให้คนไข้เป็นลม คลื่นไส้อาเจียนได้ (Carotic artery) ๒. กรณีผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงไม่ควรกดแรง หมายเหตุ เป็นเส้นพื้นฐานที่ทำให้เกิดอาการเป็นลมได้ง่าย
การนวดพื้นฐานบ่าท่านอน
เป็นการนวดเหมือนนวดพื้นฐานบ่าท่านั่ง เพียงเปลี่ยนสภาพผู้ถูกนวดจากท่านั่งเป็นท่านอน ผู้นวดเปลี่ยนจากท่ายืน เป็นนั่งคุกเข่าคู้อยู่หลังผู้ถูกนวด การวางมือและทิศทางการนวดเหมือนท่านั่ง
การกดจุดสัญญาณหัวไหล่การจัดท่า ผู้ถูกนวด นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งห้อยขา ผู้นวด นั่งท่าพรหมสี่หน้า หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ถูกนวด วิธีการนวด ๑. คว่ำมือ (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด) ใช้นิ้วหัวแม่มือ กด ส.๑ หัวไหล่ บริเวณปีกสะบัก (รอยตัดระหว่างแนวกล้ามเนื้อต้นแขนกับขอบสะบักด้านนอก ต่ำกว่า ส.๑ แขนด้านนอกเล็กน้อย) มืออีกข้างจับข้อมือผู้ถูกนวดงอข้อศอกหงายขึ้นเล็กน้อยให้ข้อมืออยู่ในระดับสายตาของผู้ถูกนวด พร้อมทั้งโน้มตัวเข้าหาผู้ถูกนวดโดยให้แขนข้างที่กดตึง ๒. หงายมือ (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด) ใช้นิ้วหัวแม่มือ กด ส.๒ หัวไหล่ กึ่งกลางโค้งคอ แนวปลายติ่งหูทิศแรงขนานกับพื้น ๓. เลื่อนมือจากตำแหน่ง ส.๒ ประมาณ ๑ นิ้วมือ กด ส.๓ หัวไหล่ ทิศแรงที่กดเฉียงลงด้านล่าง ๔. เลื่อนนิ้วหัวแม่มือ จากตำแหน่ง ส.๓ จนชิดแนวกระดูกไหปลาร้าด้านในตัดกับแนวติ่งหู (ส.๔) ทิศแรงออกด้านหลัง ๕. หมุนตัว หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด คว่ำมือ (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด) กด ส.๕ หัวไหล่ รอยบุ๋มของรักแร้ขณะพับแขน กดแล้วยกขึ้นด้านบน ตำแหน่งจุดสัญญาณหัวไหล่
| ||||||||||||||||||||
ข้อควรระวังในการกดจุดสัญญาณหัวไหล่๑ | ไม่ควรกดแรง เพราะมีเส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขน (Barchial nerve) ถ้ากดแรงเกินไปอาจทำให้แขนไม่มีแรง ยกแขนไม่ขึ้น ๒. กรณีผู้ป่วยเป็นโรคหัวไหล่ควรหยุดอยู่ในความควบคุมของผู้ชำนาญ ๓. กรณีหัวไหล่หลุด เคลื่อน ไม่ควรนวด ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress |
วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
การนวดพื้นฐานบ่า
ป้ายกำกับ:
นวดแบบ ราชสำนัก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น