วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การนวดพื้นฐานท้อง

การนวดพื้นฐานท้อง

๑.      การนวดท่าแหวก
-นั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวด  ใช้ข้อที่  ๒  ของนิ้วกลางมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)
แตะหัวตะคาก  กดเฉียง  ๔๕๐ กับแนวสะดือ  ดันปลายนิ้ว  (นิ้วชี้,  นิ้วกลาง,  และนิ้วนาง)
เข้าหาหัวตะคากของผู้ถูกนวด
-เลื่อนมือขวางลำตัวผู้ถูกนวด  ให้ปลายนิ้วกลางห่างจากเส้นกึ่งกลางลำตัว  ๑  นิ้วมือ
ต่ำกว่าสะดือ  ๑  นิ้วมือ  กดนิ้วมือลงแนวดิ่ง  (ไม่ใช้ปลายนิ้วกด)
-วางมือให้นิ้วกลางแตะกึ่งกลางลำตัว  เหนือสะดือ  ๑  นิ้วมือ  กดนิ้วมือลงแนวดิ่ง  (ไม่ใช้ปลายนิ้ว)
เลื่อนมือ  กดจุดที่  ๔,  ๕  และ  ๖  ตามแนวเดิม  ห่างจากจุดก่อนหน้า  ๑  นิ้วมือ
(จุดที่  ๖  อยู่บริเวณใต้ลิ้นปี่)
-นวดท่าแหวก  รอบที่  ๒  และ  ๓  ย้อนไป – มาได้
๒.    การนวดท่านาบ  (นวดต่อจากท่าแหวก)
-นั่งคุกเข่าคู้  หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด  วางมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
ให้ปลายนิ้วกลางอยู่เส้นกึ่งกลางลำตัว  ใต้ลิ้นปี่  โดยไม่ให้นิ้วชี้และนิ้วนางกดบนกระดูกซี่โครง
กดนิ้วมือลงแนวดิ่ง  (ไม่ใช้ปลายนิ้วกด)
-เลื่อนมือ  ให้นิ้วนางชิดแนวกึ่งกลางลำตัว  ต่ำจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๑  นิ้วมือ
นิ้วชี้ต้องไม่กระดูกซี่โครง    กดในลักษณะเดียวกับข้อ  ๑
-เลื่อนมือ  กดจุดที่  ๓  และ  ๔  ตามแนวเดิม  ห่างจากจุดก่อนหน้า  ๑  นิ้วมือ
-เลื่อนมือ  ให้นิ้วก้อยอยู่ชิดแนวกึ่งกลางลำตัว  ต่ำกว่าสะดือ  ๑  นิ้วมือ  กดในลักษณะเดียวกับข้อ  ๑
-เฉียงมือ  ๔๕ ให้ข้อที่  ๒  ของนิ้วกลางแตะหัวตะคาก
กดโดยดันปลายนิ้วเข้าหาหัวตะคากของผู้ถูกนวด
-นวดท่านาบ  รอบที่  ๒  และ  ๓  โดยเริ่มจากใต้ลิ้นปี่มาตาลำดับ
(ไม่นวดย้อนกลับไป-มา  เหมือนท่าแหวก)
๓.     นวดตามขั้นตอนท่าแหวกในข้อ  ๑.  และท่านาบในข้อ  ๒.  อีกด้านหนึ่ง
๔.     การเปิดประตูลมท้อง  ผู้นวดเข้าทางด้านซ้ายข้องผู้ถูกนวด  นั่งคุกเข่าคู้  หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด
ใช้มือซ้ายกางนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ  ๑๘๐ วางนิ้วชิดกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายของทั้งสองข้าง
วางสันมือขวาทาบต่อจากแนวมือซ้าย  (ด้านหลัง)  ยกมือซ้ายออก
กดโน้มน้ำหนักลงบนสันมือขวาจนพบจุดชีพจร
๕.     จับชีพจรที่ข้อมือซ้ายของผู้ถูกนวด  ถ้าปกติดีแล้วให้ผู้ถูกนวดพลิกตัวไปมา
เพื่อให้เลือดกระจายทั่วตัว  แล้วจึงตะแคงตัวลุกขึ้นได้

ข้อปฏิบัติที่พึงระวังในการนวด

๑.      ก่อนนวดต้องให้คนไข้ปัสสาวะให้เรียบร้อย
๒.    จัดท่านอนหงายราบ  ห้ามใช้แขนหนุนศีรษะ
๓.     ในกรณีที่ผู้ถูกนวดกล้ามเนื้อหน้าท้องมากหรือแข็ง  ต้องให้ผู้ถูกนวดชันเข่าทั้ง  ๒  ข้าง

การกดจุดสัญญาณท้อง

วิธีการนวด

๑.      คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ปลายนิ้ว  (ชี้,  กลาง,  นาง)  กด  ส.๑  ท้อง
ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท่าแหวกด้านขวา
๒.    คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ปลายนิ้ว  (ชี้,  กลาง,  นาง)  กด  ส.๒  ท้อง
ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท่าแหวกด้านซ้าย
๓.     คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ให้นิ้วชี้แตะกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายด้านขวา
ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางลำตัว  กด  ส.๓  ท้อง  นิ้วมือลงแนวดิ่ง  (เหนือสะดือ)
๔.     คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ให้นิ้วชี้แตะกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายด้านซ้าย
ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางลำตัว  กด  ส.๔  ท้อง  นิ้วมือลงแนวดิ่ง  (เหนือสะดือ)
๕.     ผู้นวดเข้าทางด้านซ้ายของผู้ถูกนวดนั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวด
ใช้มือซ้ายกางนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ  ๑๘๐ วางนิ้วชิดกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายของทั้งสองข้าง
วางสันมือขวาทาบต่อจากแนวมือซ้าย  (ด้านหลัง)  ยกมือซ้ายออก
 กดโน้มน้ำหนักลงบนสันมือขวาจนพบจุดชีพจร  (ส.๕  ท้อง  เหนือสะดือประมาณ  ๒  นิ้วมือ)

ตำแหน่งจุดสัญญาณท้อง

ชื่อ
ตำแหน่ง

ผลของการกด

ส.๑ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท้องท่าแหวกด้านขวา-จ่ายความร้อนเข้าอุ้งเชิงกรานด้านขวาออกหน้า ขา  เข้าท้องน้อย-แก้โรคเกี่ยวกับมดลูก  เช่น  มดลูกด่ำ  มดลูกลอย  มดลูกตะแคงต่ำ  ดานเลือด  และ  โรคเกี่ยวกับองคชาติ  ปรับสมดุลประจำเดือน -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลัง  ในบางกรณี
ส.๒ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท้องท่าแหวก  ด้านซ้าย-จ่ายความร้อนเข้าอุ้งเชิงกรานด้านซ้าย  ออกหน้าขา  เข้าท้องน้อย-แก้โรคเกี่ยวกับมดลูก  เช่น  มดลูกด่ำ  มดลูกลอย  มดลูกตะแคงต่ำ  ดานเลือด  และโรคเกี่ยวกับองคชาติ  ปรับสมดุลประจำเดือน -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลัง  ในบางกรณี
ส.๓เหนือสะดือด้านขวา  ๑  นิ้ว  (โคนนิ้วชี้แตะชายโครงซี่สุดท้าย  กางมือให้ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางท้อง)-จ่ายความร้อนออกหลังและบั้นเอวด้านขวา  และกระเบนเหน็บข้างขวา-แก้ยอกหลัง  โรคดานลม  เถาดาน  พรรดึก -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลังในบางกรณี
ส.๔เหนือสะดือด้านซ้าย  ๑  นิ้ว  (โคนนิ้วชี้แตะชายโครงซี่สุดท้าย  กางมือให้ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางท้อง)-จ่ายความร้อนออกหลังและบั้นเอวด้านซ้าย  และกระเบนเหน็บข้างซ้าย-แก้ยอกหลัง  โรคดานลม  เถาดาน  พรรดึก -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑, ๓  ในบางกรณี
-จ่ายความร้อนออกหลังและบั้นเอวด้านซ้าย  และกระเบนเหน็บข้างซ้าย
-แก้ยอกหลัง  โรคดานลม  เถาดาน  พรรดึก
-ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลัง  ในบางกรณี
ส.๕เหนือสะดือด้านซ้าย  ๒  นิ้ว  (ผู้นวดต้องเข้าด้านซ้ายของผู้ถูกนวดเสมอ  เพราะเส้นเลือดแดงบริเวณท้องอยู่ค่อนไปทางด้านซ้าย)-จ่ายความร้อนออกทั่วท้อง  (ออกเส้นสุมนา)  เข้าไขสันหลังออกก้นกบ  ออกขาทั้ง  ๒  ข้าง-ช่วยปรับสมดุลระบบการไหลเวียนให้ดีขึ้นทั่วร่างกาย -ห้ามกดในรายที่เป็นอัมพาตใหม่ ๆ  จะทำให้เสมหะมากขึ้นเรียกว่า  “ชิวหาสดมภ์”  อาจจะทำให้เสียชีวิตก็ได้
หมายเหตุ
-ในรายที่อ้วนหรือมีกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก  ให้ผู้ถูกนวดชันเข่าทั้ง  ๒  ข้าง  ขณะนวดท้อง
-ในสมัยโบราณ  จะนวดตอนตอนเช้า  หลังจากตื่นนอน  เข้าห้องน้ำแล้ว  ก่อนรับประทานอาหาร
แต่ในปัจจุบันไม่สะดวก  จึงนวดทุกเวลา  ยกเว้นหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ  หรือหิวจัด
(อย่างน้อย  ๑ / ๒  ชั่วโมง)
ข้อควรระวัง
๑. ไม่ควรนวดรอบสะดือ  ต้องห่างอย่างน้อย  ๑  นิ้วมือ
๒. ห้ามกดบริเวณลิ้นปี่  (ทำให้จุกเสียดได้)  และชายโครง  (ทำให้กระดูกซี่โครงหักและทิ่มแทงอวัยวะภายในได้)
๓. ห้ามนวดในกรณีที่มีโรคประจำตัว  เช่น  มะเร็งตับ  มะเร็งลำไส้
๔. ไม่นวดในขณะที่อิ่มใหม่ ๆ  หรือหิวจัด
๕. ควรระวังในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น