วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก    การจัดท่า   ผู้ถูกนวด   นอนตะแคงเข่าคู้  ๙๐๐ ผู้นวด  นั่งคุกเข่าคู้  เข่าด้านใกล้ตัวผู้ถูกนวดอยู่ตรงระดับเอวผู้ถูกนวด

วิธีการนวด

๑.      คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  (ชี้เข้าหาตัวผู้นวด)  กด  ส.๑  ขาด้านนอก
ลงบนจุดสูงสุดของสะโพกที่เริ่มตก  (จุดสลักเพชร-จุดตัดระหว่างแนวกึ่งกลางขาด้านข้างท่อนบน
กับแนวกึ่งกลางลำตัว)  ซึ่งจะต้องอยู่สูงกว่าหัวตะคากเสมอ
๒.    หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๒  ขาด้านนอก  ชิดหัวตะคาก
(จุดตัดระหว่างแนวด้านหน้าขาด้านข้างท่อนบน  กับแนวเส้นข้างลำตัว)
๓.     เลื่อนตัวให้นั่งเฉียง  ๔๕ กับแนวสะโพกของผู้ถูกนวด  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดบน  ส.๓  ขาด้านนอก  คือ  จุดกึ่งกลางกล้ามเนื้อสะโพก
(รอยบุ๋มของข้อต่อกระดูกสะโพกกับขาท่อนบน)  เป็นรอยตัดระหว่างแนวของขาด้านนอก
กับแนวลำตัวด้านนอก  (ไม่นิยมกด  X  เพราะเจ็บมาก)
๔.     คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  กดบน  ส.๔  ขาด้านนอก  คือ
กล้ามเนื้อด้านข้างขาท่อนบนเหนือเข่า  (๑ / ๒  ของช่วงเข่าถึงสะโพก)  ชิดเส้นเอ็นใต้ข้อพับเข่า
๕.     จัดให้ขาข้างเข่าคู้  ๙๐ ขนานกับขาอีกข้าง  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือคู่
กด  ส.๕  ขาด้านนอก  คือจุดสูงสุดของกล้ามเนื้อน่องด้านนอก
จุดตัดระหว่างส่วนกว้างที่สุดของกล้ามเนื้อน่องกับแนวตาตุ่มด้านนอก  ค่อนไปทางสันหน้าแข้ง

ตำแหน่งจุดสัญญาณขาด้านนอก


ชื่อตำแหน่งผลของการกด

ส.๑จุดสูงสุดของสะโพกที่เริ่มตก-จ่ายความร้อนไปทั่วขาด้านนอกถึงปลายเท้า-แก้ ลมปราบที่ขาด้านนอก  ขาชา  ขาลีบ-ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับสะโพก  เช่น  ขัดสะโพก  ข้อต่อสะโพกเสื่อม  อัมพาต

ส.๒ชิดหัวตะคาก-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกสะโพก  ออกต้นขาและปลีน่อง-แก้ขัดสะโพก  หัวต่อกระดูกและเบ้าสะโพกอักเสบโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูก  ส.๓-ช่วยแก้โรคหมอนรองกระดูก  ส.๑  ช่วยแก้อัมพาตขา  ข้อต่อสะโพกเสื่อม -ช่วยในกรณีผลักกระดูกสะโพกให้เข้าที่
-ห้ามกดในรายที่ผู้ป่วยเป็นอัมพาต  เหยียดคู้  งอขาไม่ได้  เพราะจะทำให้กระดูกสะโพกเคลื่อนมากขึ้น

ส.๓กึ่งกลางกล้ามเนื้อสะโพก-บังคับเลือดและความร้อนเข้าหัวต่อกระดูก สะโพกและเชิงกราน-แก้กระดูกสะโพกเคลื่อนให้เข้าที่  แก้มดลูกอักเสบ  หมอนรองกระดูกหลัง  ส.๑-ช่วยแก้โรคหมอนรองกระดูกหลัง  ส.๓  ข้อสะโพกเสื่อม  อัมพาตขา -ใช้ตรวจกรณีกระดูกสะโพกเคลื่อนว่าเข้า ที่แล้วหรือยังการอักเสบของมดลูกและเชิงกราน  มดลูกเคลื่อน  มดลูกไม่เข้าอู่  (หากผิดปกติ  ส.  นี้จะแข็งมากและมีความร้อน)

ส.๔เหนือเข่า  (๑ / ๓  ของช่วงเข่าถึงสะโพก)-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อเข่าและลูกสะบ้า-แก้ กล้ามเนื้อขาด้านนอกอักเสบ  หรือฉีกขาด-ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับเข่า  เช่น  จับโปง  ลำบอง  เข่าเคลื่อน  เข่าอักเสบ  สะบ้าบิน  สะบ้าจม

ส.๕จุดสูงสุดของกล้ามเนื้อน่องแนวตาตุ่มด้านนอก(จุดที่กล้ามเนื้อน่องใหญ่ที่สุด)-บังคับเลือดและความร้อนไปข้อเท้าและหลังเท้า-แก้ขาลีบ  ตะคริวปลายเท้า-ช่วยแก้อัมพาต  สันนิบาตตีนตก -ใช้ในการตรวจขาลีบ  ว่าจะรักษาให้กลับเป็นปกติได้หรือไม่  (ถ้า  ส.๕  ขาด้านนอกเล็กกว่าก้านไม้ขีด  จะแก้กลับคืนไม่ได้)

การนวดพื้นฐานขาด้านใน







การจัดท่า
ผู้ถูกนวด   นอนตะแคงคู้เข่า  ๙๐ผู้นวด นั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวดวิธีการนวด ๑.  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดลงบนแนวกึ่งกลางขาด้านในท่อนบน
ห่างจากโคนขาประมาณ  ๒  นิ้วมือ  กดเรียงลักษณะนิ้วต่อนิ้วจนถึงเหนือพับเข่าประมาณ  ๒  นิ้วมือ
๒.  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  กดบริเวณกึ่งกลางใต้ข้อพับเข่า
๓.  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ชิดกล้ามเนื้อกระดูกสันหน้าแข้งด้านใน
ให้ปลายนิ้วชี้ไปทางศีรษะผู้ถูกนวด  กดนวดจากใต้หัวเข่าเรียงไปจนถึงข้อเท้า
ข้อควรระวัง
๑.      ในกรณีที่มีการฉีกขาดของมัดกล้ามเนื้อ  ควรกดด้วยความระมัดระวัง
หรืออยู่ในความควบคุมของผู้ชำนาญ
๒.    บริเวณขาท่อนล่าง  ชิดกระดูกสันหน้าแข้งด้านใน  ไม่ควรกดแรง  เพราะอาจทำให้เส้นประสาทชา  ทำให้กระดกข้อเท้าไม่ได้
การกดจุดสัญญาณขาด้านใน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนตะแคงคู้เข่า  ๙๐
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๑  ขาด้านใน  ลงบนขาท่อนบนชิดกระดูกข้อสะโพก
ชิดก้นย้อย  (ไม่นิยม  X  เพราะเจ็บมาก  เป็นจุดที่ไม่อยู่ในเส้นพื้นฐาน)
๒.    วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๒  ขาด้านใน  ลงบนตำแหน่งกึ่งกลางของขาด้านในท่อนบน
ห่างจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๒  นิ้วมือ  (จุดเดียวกับจุดเริ่มต้นการนวดพื้นฐานขาด้านในท่อนบน)
ไม่นิยม  X  เพราะเจ็บมาก
๓.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๓  ขาด้านใน  ลงบนตำแหน่งเหนือเข่า  (๑ / ๓  ของช่วงเข่าถึงก้นย้อย)  แนวขอบสะบ้า
๔.     คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  กด  ส.๔  ขาด้านใน  บริเวณกึ่งกลางใต้ข้อพับเข่า
๕.     คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ให้ปลายนิ้วชี้เข้าหาตัวผู้นวด
กด  ส.๕  ขาด้านในบริเวณร่องใต้ตาตุ่มด้านใน  นิ้วที่เหลือผลักปลายเท้าผู้ถูกนวดให้ตั้งฉาก
ตำแหน่งจุดสัญญาณขาด้านใน
 ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑ชิดกระดูกข้อสะโพก  ชิดก้นย้อย-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกสะโพก  หมอนรองกระดูกสันหลัง-แก้อาการขัดสะโพก  โรค  ส.๓  หลัง  เช่น  ลำปอง  ลมปลายปัตคาต-ช่วยเกี่ยวกับโรคในท้องและอุ้งเชิงกราน  เช่น  มดลูกด่ำ  ดานเลือด  ดานลม
ส.๒แนวกึ่งกลางขาท่อนบน  ห่างจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๒  นิ้วมือ-จ่ายความร้อนไปทั่วขาทั่วไป-แก้โรคปราบที่ขา  กล้ามเนื้อขาฉีกหรืออักเสบ  โรคหมอนรอง
“จุดจอมประสาท”  เป็นจุดตัดระหว่างเส้นแสกหน้ากับเส้นลากระหว่างยอดใบหูทั้ง  ๒  ข้าง
 (กระหม่อมหน้า  ปกติมักจะปิดเมื่ออายุ  ๒  ปี)  ให้ใช้หน้านิ้วกด  จะจ่ายพลังเข้าระบบสมอง
ออกหัวคิ้ว  แสกหน้า  บริเวณหน้าผาก  คาง  และฟัน  จะมีอาการรู้สึกตื้อ ๆ
ตามแนวกดเข้าไปด้านในสมอง  (ขณะกดควรควรยืนก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งล้ำไปด้านหน้า  ๑  ก้าว

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น