วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การนวดพื้นฐานแขน

การนวดพื้นฐานแขน
๑. พื้นฐานแขนด้านนอก
-การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านั่ง 
-การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านอน
๒.  พื้นฐานแขนด้านใน
-การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านั่ง
-การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านอน

การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านั่ง
ประโยชน์คือ  ช่วยเหลือคนไข้ที่เป็นอัมพาตแขน  แขนอ่อนแรง
เป็นการส่งเลือดไปเลี้ยงแขนด้านนอก  แก้อาการชาบริเวณแขน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด        นั่งขัดสมาธิ  หรือนั่งห้อยขา
ผู้นวด             นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ถูกนวด

วิธีการนวด
๑.      นวดได้  ๓  วิธี  คือ
-ท่าคว่ำมือ  :  ควำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก  (บริเวณจุดสิ้นสุดของกล้ามเนื้อต้นแขนด้านนอก)
-ท่าหงายมือ  :  หงายมือใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก
-ท่าไขว้มือ  :  มือด้านใน  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  จับข้อมือผู้ถูกนวด
ไขว้มือด้านนอก  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  คว่ำมือ
ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก
๒.  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือคู่  หรือนิ้วเดียว  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
 กดตามแนวนิ้วกลาง  เริ่มจากใต้ข้อศอกไปจนถึงบริเวณเหนือข้อมือ

การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านอน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ๙๐๐ หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดบนกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก  (แนวตกของกล้ามเนื้อต้นแขน  (Deltoid) )
 แล้วกดจุดที่  ๒-๔  ต่อเนื่องกันโดยให้ห่างจากจุดเดิม  ลักษณะนิ้วต่อนิ้ว
๒.    หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดตามแนวนิ้วกลาง  เริ่มจากใต้ข้อศอกไปจนถึงบริเวณเหนือข้อมือ

การกดจุดสัญญาณแขนด้านนอก
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด    นั่งขัดสมาธิ  หรือหนั่งห้อยขา
ผู้นวด        นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๑  แขนด้านนอก  ที่แนวตัดระหว่างกล้ามเนื้อต้นแขนกับขอบสะบักด้านนอก
มือด้านนอกจับข้อมือผู้ถูกนวดหงายขึ้นเล็กน้อย
พร้อมทั้งยกขึ้นให้ข้อมืออยู่ในระดับสายตาของผู้ถูกนวด

๒.    กด  ส.๒  แขนด้านนอก  นวดได้  ๓  วิธี  คือ
-ท่าคว่ำมือ  :  คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก  (บริเวณจุดสิ้นสุดของกล้ามเนื้อต้นแขนด้านนอก)
-ท่าหงายมือ  :  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก
-ท่าไขว้มือ  :  มือด้านใน  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
จับข้อมือผู้ถูกนวด  ไขว้มือด้านนอก  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)
คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก

๓.     หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๓  แขนด้านนอก  ตรงร่องข้อพับศอกด้านบน  (งอแขน)
มืออีกข้างจับข้อมือผู้ถูกนวด

๔.     คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๔  แขนด้านนอก  ตรงร่องข้อพับศอกด้านล่าง  (งอแขน)
มืออีกข้างจับข้อมือผู้ถูกนวด

๕.     หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือคู่  หรือนิ้วเดียว  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๕  แขนด้านนอก  ที่แขนด้านนอกท่อนล่าง
ห่างจากข้อศอก  ๑/๓  ของความยาวจากข้อศอกถึงข้อมือ

ตำแหน่งจุดสัญญาณแขนด้านนอก
 ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑แนวตัดระหว่างกล้ามเนื้อต้นแขนกับกระดูกหัวไหล่  (สูงกว่า  ส.๑  หัวไหล่เล็กน้อย)-จ่ายความร้อนออกไปทั่วแขนด้านนอกถึงปลายนิ้วมือ-แก้ลมปราบที่แขน  แก้กล้ามเนื้อแขนลีบ  แขนชา -ช่วยแก้มือชา  นิ้วชา
-ช่วยในกรณีกระดูกแขนหักหรือร้าว  ให้ติดดีขึ้นหลังจากถอดเฝือกแล้ว
ส.๒กล้ามเนื้อต้นแขนด้านนอกแนวข้อศอก  (นวดท่าไขว้มือ)-จ่ายความร้อนเลียบกระดูกแขน  และเยื่อหุ้มกระดูกแขนด้านนอก-แก้ในกรณีกระดูกแขนหักหรือร้าว  ให้ติดดีขึ้น -ช่วยให้แขนมีแรง  กระดูกมีกำลังหลังจากถอดเฝือกแล้ว
-ช่วยแก้ปวดเสียวหรือเกิดการฟกช้ำของกระดูกแขน
ส.๓ร่องข้อพับศอกด้านบน  (งอแขน)-จ่ายความร้อนเข้าข้อศอกบน-แก้ข้อศอกเคลื่อนด้านนอก -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อศอก  เช่น  ข้อศอกอักเสบ  ข้อศอกติด  เส้นเอ็นอักเสบ
ส.๔ร่องข้อพับศอกด้านล่าง  (งอแขน)-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกข้อศอกล่าง-แก้ข้อศอกเคลื่อนด้านใน -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อศอก  เช่น  ข้อศอกอักเสบ  ข้อศอกติด
ส.๕แขนด้านนอกท่อนล่าง  (ห่างจากข้อศอก  ๑/๓  ของความยาวจากข้อศอกถึงข้อมือ)-จ่ายความร้อนเข้ามือและออกหลังมือ-แก้โรคเกี่ยวกับข้อมือ  เช่น  สันนิบาตมือตก -ช่วยแก้เกี่ยวกับนิ้วชา  เคล็ด
-ในกรณีที่นวด  ส.๓  หัวไหล่  แล้วเกิดอาการแขนชา  ให้แก้ที่สัญญาณนี้

การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านั่ง
การจัดท่านั่ง
ผู้ถูกนวด                นั่งขัดสมาธิ  หรือหนั่งห้อยขา
ผู้นวด                     นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      นวดได้  ๓  วิธี
-ท่าคว่ำมือ  :  คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดตรงกึ่งกลางแขนด้านใน  (ใต้กล้ามเนื้อลูกหนู-Biceps)  มืออีกข้างจับชีพจรข้อมือผู้ถูกนวด
-ท่าหงายมือ  :  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดตรงกึ่งกลางแขนด้านใน  มืออีกข้างจับชีพจรข้อมือผู้ถูกนวด
๒.  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่หรือนิ้วเดียว  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดตั้งแต่กึ่งกลางข้อพับแขน  ตามแนวนิ้วกลาง  ลงไปจนถึงเหนือข้อมือ  (จุดสร้อยข้อมือ)
ลักษณะนิ้วต่อนิ้ว

การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านอน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ๙๐๐ หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.  กางแขนผู้ถูกนวดให้ตั้งฉากกับลำตัว  ในลักษณะหงายมือ  ใช้อุ้งมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดบริเวณกึ่งกลางแขนท่อนบน  (ร่องกล้ามเนื้อต้นแข้นด้านใน  จะคลำพบชีพจร)
ใช้นิ้วชี้  นิ้วกลางและนิ้วนาง  อีกมือหนึ่งจับชีพจรที่ข้อมือผู้ถูกนวด
๒.หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดตั้งแต่ข้อพับแขนด้านใน  แนวนิ้วกลาง
ไล่ลงไปจนถึงเหนือข้อมือ  (จุดสร้อยข้อมือ)  ลักษณะนิ้วต่อนิ้ว
หมายเหตุ
เป็นเส้นพื้นฐานที่นวดแล้วเกิดอาการเป็นลมได้ง่าย

การกดจุดสัญญาณแขนด้านใน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ๙๐๐ หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  กด  ส.๑  แขนด้านใน
จุดต่ำกว่าปุ่มกระดูกแขนด้านใน  ทางโคนแขนเล็กน้อย  (เป็นจุดที่ไม่อยู่บนเส้นพื้นฐาน)
๒.    ใช้ส้นมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  กด  ส.๒  แขนด้านใน  กึ่งกลางแขนท่อนบนด้านใน
ใต้กล้ามเนื้อลูกหนู
๓.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๓  แขนด้านในกึ่งกลางข้อพับศอก  แนวนิ้วกลาง
๔.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๔  แขนด้านในจุดกึ่งกลางแขนด้านในท่อนล่าง
๕.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๕  แขนด้านใน  เหนือข้อมือ  (เหนือจุดสร้อยข้อมือ)
ตำแหน่งจุดสัญญาณแขนด้านใน
ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑ต่ำกว่าปุ่มกระดูกต้นแขนด้านในเล็กน้อย-จ่ายความร้อนเลียบกระดูกและเยื่อหุ้มกระดูกแขนด้านใน-แก้ในกรณีกระดูกแขนหักหรือร้าว  ให้กระดูกติดดีขึ้น -ช่วยให้แขนมีแรง  กระดูกมีกำลังหลังจากการถอดเฝือกแล้ว
-ช่วยแก้อาการปวดเสียว  หรือเกิดการฟกช้ำของกระดูกแขน
ส.๒กึ่งกลางแขนท่อนบนด้านในใต้กล้ามเนื้อลูกหนู-จ่ายความร้อนลงท้องแขนทั่วไป-แก้ลมปราบที่แขน  แก้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อแขนอักเสบ -ช่วยแก้กล้ามเนื้อแขนลีบ  แขนชา
ส.๓กึ่งกลางข้อพับศอก-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกข้อศอก-แก้ข้อศอกเคลื่อน -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อศอก  เช่น  ข้อศอกอักเสบ  ข้อศอกติด
ส.๔กึ่งกลางแขนท่อนล่าง  (จุดแรกที่กดแล้วทำให้นิ้วกลางและนิ้วนางกระดก)-จ่ายความร้อนไปสู่หัวต่อกระดูกข้อมือ-แก้สันนิบาตมือตก -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับข้อมือ  เช่น  ข้อมือเคล็ด  ข้อมือเคลื่อนอักเสบ  เส้นเอ็นอักเสบ
ส.๕ชิดกระดูกข้อมือแนวกึ่งกลาง  (เหนือจุดสร้อยข้อมือเล็กน้อย)-จ่ายความร้อนออกปลายนิ้วทั้งหมด-แก้ข้อมือเคลื่อน  ข้อมืออักเสบ -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อนิ้วมือ  เช่น  นิ้วมือซ้น  นิ้วมือติด
-ช่วยในรายที่เป็นอัมพาตแขน  แขนอ่อนแรง  ข้อมือและข้อนิ้วต่าง ๆ  เคลื่อน  และมีการอักเสบจากอุบัติเหตุ
ข้อควรระวัง
๑.      กรณีที่มีการแตกหักร้าวของกระดูกแขนไม่ควรนวด
๒.    กรณีที่มีการฉีกขาดของมัดกล้ามเนื้อต่าง ๆ  ไม่ควรนวด
๓.     บริเวณแขนด้านนอกท่อนล่าง  ไม่ควรกดแรง  อาจทำให้เส้นประสาทชา
ทำให้กำมือ-แบมือไม่ได้หรือกระดกข้อมือไม่ได้
๔.     บริเวณแขนด้านในท่อนล่าง  และบริเวณข้อพับศอก  มีหลอดเลือดแดงใหญ่  ไม่ควรกดแรง

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น