วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การนวดพื้นฐานขา

การนวดพื้นฐานขา

๑. การนวดพื้นฐานขา
๒. การนวดพื้นฐานขาด้านนอก
๓. การนวดพื้นฐานขาด้านใน

การนวดพื้นฐานขา

ผู้นวดนั่งคุกเข่าห่างจากปลายเท้าผู้ถูกนวดประมาณ  ๔  ศอก  เดินเข่าท่าเคารพเข้าหาผู้ถูกนวด
(ย่างสามขุม)  เมื่อถึงกึ่งกลางเข่าของผู้ถูกนวด  นั่งพับเพียบ  (ปลายเท้าชี้ไปทางด้านปลายเท้าผู้ถูกนวด)  ห่างจากผู้ถูกนวด  ๑  ศอก  (๑  หัตถบาท)
-ใช้นิ้วชี้  นิ้วกลาง  นิ้วก้อย  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  จับชีพจรที่ข้อมือ  (ลมเบื้องสูง)
-ใช้นิ้วชี้  นิ้วกลาง  นิ้วก้อย  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  จับชีพจรที่หลังเท้าแนวนิ้วหัวแม่เท้า  (ลมเบื้องต่ำ)  ปกติจะต้องเท่ากัน  (ข้อมือเร็วกว่าหลังเท้าประมาณ  ๐.๒  วินาที)  ถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าเลือดลมเดินไม่สะดวก
การนวดอาจทำให้เกิดการช็อกได้

การจัดท่า
ผู้ถูกนวด           นอนหงาย
ผู้นวด               นั่งพับเพียบ  ปลายเท้าชี้ทางปลายเท้าผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  กดเฉียง  ๔๕๐ ชิดกระดูกสันหน้าแข้ง
ใต้สะบ้า  ๒  นิ้วมือ  (นาคบาทจุดที่  ๑)  และให้นิ้วที่เหลือประคองบนหน้าแข้ง
๒.    เลื่อนมือในลักษณะเดิม  ห่างจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๑  ข้อนิ้วมือ  (นางคบาทจุดที่  ๒)
๓.     หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่กดแนวกล้ามเนื้อชิดกระดูกสันหน้าแข้งต่อเนื่องจากจุด ที่  ๒
ลักษณะนิ้วต่อนิ้วไปจนถึงข้อเท้า  ให้นิ้วที่เหลือประคองอยู่บริเวณกล้ามเนื้อน่อง
๔.     หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่กดแนวกลางกล้ามเนื้อขาท่อนบนเหนือเข่า  ๒  นิ้วมือ
ลักษณะนิ้วต่อนิ้วไปจนถึงกระดูกหัวตะคาก
๕.     คว่ำมือ  ให้ปลายนิ้วก้อยแตะบริเวณหัวตะคาก  (เปิดปลายนิ้วขึ้นเล็กน้อยเพื่อความสุภาพ)
วางนิ้วหัวแม่มือคู่กดร่องกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้าง  แนวหัวตะคากไปจนถึงข้อเท้า
โดยเว้นบริเวณเหนือเข่าและใต้เข่า  ๒  นิ้วมือ
๖.      นวดคลายหลังเท้า  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบนหลังเท้าแล้วรีดจากนิ้วก้อยไปหานิ้วหัวแม่เท้าของ ผู้ถูกนวดประมาณ  ๔  เส้น  เพื่อกระจายเลือดออกสู่เท้า
๗.     ผลักปลายเท้าผู้ถูกนวดออกด้านนอก  (หงายเท้า)  เพื่อเป็นการเปิดเส้นประตูลมให้ลอยขึ้น
หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด  คลานเข่าในท่าเคารพให้เข่าเสมอแนวหัวตะคาก  เปิดประตูลม
หมายเหตุ
จุดที่  ๑,  ๒  ของเส้นพื้นฐานขาท่านอน  เรียกว่า  “จุดนาคบาท”  ใช้แก้อาการชักในเด็ก
ข้อควรระวัง
๑.      ในกรณีที่มีการแตก  หัก  ร้าวของกระดูก  ไม่ควรนวด
๒.    ในกรณีที่มีการฉีกขาดของมัดกล้ามเนื้อบริเวณขาท่อนบน  ไม่ควรนวด
๓.     ด้านข้างของกระดูกสันหน้าขาด้านในและด้านนอก  ไม่ควรกดแรง  เพราะจะมีระบบเส้นประสาท
ที่ใช้ในการกระดกข้อเท้าขึ้นลง  ถ้ากดแรงอาจทำให้เส้นประสาทชา  ข้อเท้าอาจกระดกขึ้นลงไม่ได้
ก่อนทำการเปิดประตูลม  จะต้องนวดคลายหลังเท้า  แล้วหงายเท้าออกเพื่อให้เส้นประตูลมลอยสูงขึ้น

การเปิดประตูลม
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ข้างลำตัว  ระดับเอวของผู้ถูกนวด  หันหน้าไปทางศีรษะของผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      ผลักปลายเท้าคนไข้ออกด้านนอก  วางมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
ให้ปลายนิ้วก้อยแตะที่หัวตะคากเฉียงมือเป็นมุม  ๔๕๐ มืออีกข้างอยู่ในท่าเคารพ
๒.    ลงน้ำหนักโดยการโน้มตัวกดลงไป  กดนานประมาณ  ๒๐-๔๕  วินาที  แล้วจึงค่อย ๆ  ยกมือขึ้นช้า ๆ

ข้อควรระวัง

๑. ไม่ควรลงน้ำหนักมากเกินไปในการเปิดประตูลม  เพราะบริเวณนี้มีหลอดเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงส่วนขา
๒. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อสะโพก  เช่น  เคลื่อนหรืออักเสบ  ไม่ควรกดแรง
การกดจุสัญญาณหัวเข่าและข้อเท้า

ท่านั่งพับเพียบ
ท่าไขว้มือ
ท่านั่งผู้นวดพับเพียบ  หันเข้าผู้ถูกนวดนั่งคุกเข่า  หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
ส.๑  หัวเข่าหงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดชิดขอบสะบ้าด้านนอกคว่ำมือ  (ข้าใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วนิ้วหัวแม่มือ  กดชิดขอบสะบ้าด้านนอก
ส.๒  หัวเข่าหงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดชิดขอบสะบ้าด้านในคว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วนิ้วหัวแม่มือ  กดชิดสะบ้าด้านใน
ส.๓  หัวเข่าคว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดน้ำเต้าตก(จุดกึ่งกลางใต้ขอบสะบ้า)อีก  ๔  นิ้วประคองที่สันหน้าแข้งด้านในคว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดน้ำเต้าตก  (จุดกึ่งกลางใต้ขอบสะบ้า) อีก  ๔  นิ้วประคองที่สันหน้าแข้งด้านใน
การนวดสัญญาณข้อเท้า
๑.      นั่งคุกเข่าที่ปลายเท้าผู้ถูกนวด  ตั้งเข่าด้านอกยันฝ่าเท้าผู้ถูกนวดไว้
๒.    วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดบนรอยพับข้อเท้า  พร้อมทั้งใช้เข่าดันฝ่าเท้าเข้าหาตัวผู้ถูกนวด
ให้ทิศแรง  การกดออกไปทางส้นเท้า

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก

การจัดท่า
ผู้ถูกนวด               นอนตะแคงเข่าคู้  ๙๐
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  เข่าด้านใกล้ตัวผู้ถูกนวดอยู่ตรงระดับเอวผู้ถูกนวด

วิธีการนวด

๑.      คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  (ชี้เข้าหาตัวผู้นวด)  กดลงบนจุดสูงสุดของสะโพกที่เริ่มตก
(จุดสลักเพชร-จุดตัดระหว่างแนวกึ่งกลางขาด้านข้างท่อนบน  กับแนวกึ่งกลางลำตัว)
ซึ่งจะต้องอยู่สูงกว่าหัวตะคากเสมอ
๒.    หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดชิดหัวตะคาก  (จุดตัดระหว่างแนวด้านหน้าขาด้านข้างท่อนบน
กับแนวเส้นข้างลำตัว)
๓.     เลื่อนตัวให้นั่งเฉียง  ๔๕๐ กับแนวสะโพกของผู้ถูกนวด  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดบนจุดกึ่งกลางกล้ามเนื้อสะโพก  (รอยบุ๋มของข้อต่อกระดูกสะโพกกับขาท่อนบน)
 เป็นรอยตัดระหว่างแนวของขาด้านนอกกับแนวลำตัวด้านนอก
๔.     คว่ำมือ  (ข้าไกลผู้ถูกนวด)  วางนิ้วหัวแม่มือ  กดคลายกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านนอก
จนถึงเหนือเข่า  (กดแล้วยกกล้ามเนื้อขึ้นเล็กน้อย)
๕.     จัดให้ขาข้างเข่าคู้  ๙๐ ขนาดกับขาอีกข้าง  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดบนจุดตัดระหว่างส่วนกว้างที่สุดของกล้ามเนื้อน่องกับ แนวตาตุ่มด้านนอก
ค่อนไปทางสันหน้าแข้ง  แนวตาตุ่มด้านนอก  เรียกว่า  “เส้นชงค์ประพาส”  จนถึงข้อเท้า

การกดจุดสัญญาณขาด้านนอก

ส.๓เหนือเข่า(๑/๓  ของช่วงเข่าถึงก้นย้อยแนวขอบสะบ้า  เป็นรอยบุ๋มของกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน)-จ่ายความร้อนเข้าเข่า-ช่วยแก้โรคที่เกิดกับเข่า  น้ำในข้อแห้ง  เช่น  จับโปง  ลำบอง  เข่าเคลื่อน -จุดนี้ไม่ต้องกดแรง  เพราะถ้ากดแรง  เขาจะไม่มีแรง
ส.๔กึ่งกลางใต้ข้อพับเข่า-บังคับเลือดและความร้อนเข้าสะบ้าเข่า-แก้ข้อเข่าเคลื่อน  โรคเกี่ยวกับเข่า  จับโปง  ลำบอง -ช่วยเกี่ยวกับโรคลูกสะบ้า  เช่น  สะบ้าบิ่น  สะบ้าจม
-ถ้าเข่าไม่เข้าที่สนิท  สัญญาณจะไม่เต้น
ส.๕ร่องใต้ตาตุ่มด้านใน-บังคับเลือดและความร้อนเข้าข้อเท้า  ออกฝาเท้า-แก้โรคเกี่ยวกับข้อเท้า  เช่น  ข้อเท้าเคลื่อน  ข้อเท้าแพลง  ข้อเท้าอักเสบ  แก้อาการเกร็ง  หรือเป็นตะคริว  ตะคริวปลายเท้า -ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง  (ความดันโลหิตสูง)  แก้ตะคริวเข้าท้อง  แก้ชักบางประเภท  (ลมบ้าหมู)  แก้หัวใจวายหรือสลบชั่วคราวได้
-ใช้ตรวจข้อเท้าหลุดหรือเคลื่อนที่  ถ้าไม่เข้าที่สัญญาณนี้จะไม่เต้น
เทคนิคการนวด  นอกจากใช้นิ้วคู่แล้วยังมีการใช้นิ้วหัวแม่มือกดซ้อนไขว้ (X)
หรือใช้ส้นมือกดทับนิ้วหัวแม้มือ
การนวดพื้นฐานท้อง

ท้องเป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานทั้ง  ๑๐  เส้น  ซึ่งเป็นระบบควบคุมการทำงานของร่างกายท่านวดท้อง มีทั้งหมด ๖  ท่า ๑.      แหวก     เป็นการนวดทำให้เส้นท้องหย่อน
๒.    นาบ        เป็นการนวดทำให้สัญญาณชัดเจนขึ้น
๓.     โกย         เป็นการนวดช่วยเรื่องท้องผูก  เป็นพรรดึก  เถาดาน
๔.     ฝืน          เป็นการนวดเกี่ยวกับมดลูก  องคชาติ
๕.     กล่อม     เป็นการนวดในหญิงตั้งครรภ์  ระยะ  ๘-๙  เดือน  ช่วยระบบไหลเวียนเลือด
และป้องกันเด็กทับเส้น  ทำให้คลอดง่าย  จะไม่นวดในระยะตั้งครรภ์  ๓  เดือน  (เพราะทำให้แท้งง่าย)
และ  ๗  เดือน  (เด็กกำลังกลับหัว  อาจจะทำให้แท้งได้)
๖.      ข่ม          เป็นการนวดในขณะคลอด  หมดลมเบ่ง  เพื่อช่วยการคลอด
หมายเหตุ
การนวดท้องมักใช้ท่าแหวกคู่กับท่านาบเสมอ  โดยจะต้องนวดแหวกก่อนนาบเสมอ  เป็นการนวดพื้นฐานท้องก่อนทำการนวดท่าอื่นๆ  ทุกครั้ง
ประโยชน์
๑.  โรคลมตะกัง  (มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ  ปวดกระบอกตาเมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น)  ชนิดอาเจียน
๒.  ดานเลือด  (มักเกิดในผู้หญิง)  ดานลม  (มักเกิดในคนสูงอายุ)
๓.  มดลูกด่ำ  (มดลูกเคลื่อน  หรือกระบังลมหย่อน)
๔.  รักษาอาการยอกหลัง  ชนิดเดี่ยว  คู่  และพุทธยักษ์
๕.  โรคลำบอง  สัญญาณ  ๑,  ๓  หลัง
๖.  อาการหลังค่อม
๗.  อาการอัมพาตครึ่งซีก  ระยะแรกที่ลมเบื้องสูง-ต่ำ  ยังไม่สมดุล
๘.  ใช้ในการปรับสมดุลประจำเดือน
๙.  ใช้รักษาอาการสมรรถนะทางเพศเสื่อม
๑๐.รักษาโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทช่วงเอว
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด
ขั้นตอนก่อนการนวดพื้นฐานท้อง
๑.      นวดพื้นฐานขา  เปิดประตูลมทั้ง  ๒  ข้าง
๒.    กดสัญญาณต่อไปนี้ให้ครบรอบทีละข้าง
-กดสัญญาณหลัง  ๑,  ๒,  ๓  (รอบสุดท้ายกดสัญญาณ  ๓, ๒, ๑)
-กดสัญญาณขาด้านนอก  ๑,  ๒,  ๓  จำนวน  ๓  รอบ
-กดสัญญาณขาด้านใน  ๑,  ๒  (ส้นมือ)

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น